วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Sub Domain คือ อะไร และ วิธีสร้าง Sub Domain ใน Web Hosting

และวิธีสร้าง Sub Domain ในเว็บโฮสติ้ง
subdomain.yourdomain.com

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำที่ว่า Subdomain แต่ไม่ทราบว่าคืออะไร ทำหน้าที่อะไร มีประโยชน์ข้อดีและข้อเสียอย่างไร ซึ่งหลาย ๆ คนใช้วิธีค้นหาได้โดยง่ายคือ google และก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด สรุปกันง่าย ๆ ตามความเข้าใจก็คือ เป็น โดเมนย่อย ก็คือ การแบ่งชื่อเว็บไซต์ออกมาอีกที แต่ก็จะยังมีชื่อเว็บไซต์เดิมอยู่ เหมือนเป็นการอ้างอิงหน้าเว็บ อย่างเช่น http://www.bord.technologyland.co.th ตรงครับว่า bord. เรียกว่า Subdomain ครับ

ข้อดีของการใช้ subdomain 

เว็บไซต์ของเราก็ใช้แบบ Subdomain เช่นกัน 

1. ช่วยให้หน้าเว็บของเราดูทันสมัยยิ่งขึ้น อย่างเช่นเว็บไซต์ดัง ๆ ที่เรารู้จักกันเช่น sanook / kapook / google ก็ยังมีการใช้ Subdomain ในการแบ่งหมวดหมู่
2. สามารถให้เข้าใจความหมายของลิงค์ได้ง่ายขึ้น ให้เรารู้ว่า อยู่หน้าใหนและยังทำให้ Url  ดูสวยงาม
เช่น
       - vdo.test.com
       - question.test.com
       - shopping.test.com เป็นต้น
3. เกิดการจดจำชื่อ ชื่อเว็บ ได้ง่ายขึ้น ทำให้คุ้นเคยกับ Subdomain

หลาย ๆ คนที่จัดการทำเว็บไซต์ คงอยากจะลองทำดู เรามาดูวิธีการทำกัน จะอธิบายง่ายๆไม่ซับซ้อนนะครับ

1. เมื่อเข้ามาหน้า Direct Admin เรียบร้อยแล้ว ให้เข้าไปที่ Subdomain Management ในหมวดของ Your Account 

ผ่าน Phpmyadmin
อยู่ในหมวดของ Your Account

2. จากนั้นในช่อง Add Sub-Domain : ให้พิมพ์ชื่อ Subdomain ที่ต้องการ เข้า จากนั้น กด Create 

ตรวจสอบชื่อที่ใช้งานให้เหมาะสมกับ Web page

3. จากนั้นก็จะเกิดชื่ออ Subdomain เพิ่มขึ้นมาด้านบน 

ถ้าต้องการลบทำการติ๊ก เครื่องหมายถูก ในช่อง Select จากนั้น คลิก Delete Selected


4. จะปรากฏชื่อ Folder ขึ้นมาใน Server ใน Directory ของ Public_html ให้ทำการอัพโหลดไฟล์ที่ต้องการ ทำ Subdomain เข้าไปอยู่ใน Folderนั้น ด้วยวิธีการทั่วไปคือ ผ่านโปรแกรม FTP

สามารถอัพโหลดไฟล์ผ่านโปรแกรม FTP


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Server สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วิธี Import Database เข้าสู่ Phpmyadmin ด้วยไฟล์ .sql

การ Import Database ก็เพื่อ แก้ไขงานที่เสียหาย หากเราได้ทำการ Backup ไว้แล้วแต่ การทำงานเกิดผิดพลาดไปแล้ว ไม่สามารถ แก้ไขได้ ซึ่งการ Import นี้เป็นวิธีกู้ข้อมูลกลับมาอีกทีหนึ่ง โดยที่เรามีแผนสำรอง ก็คือ การ Backup ซึ่ง สามารถทำได้ง่าย และ เป็นประโยชน์มาก ฝึกทำไว้ไม่เสียหาย และ ทำเป็นกิจวัตรยิ่งดี เพราะจะเกิดผลดี กับตัว ผู้ใช้งานเองด้วย

มาดูวิธีการ Import Database กันครับ

1. เมื่อเข้ามาหน้า Direct Admin แล้วให้ไปที่ phpMyAdmin ในหมวดของ Advanced Features




2. เมื่อเข้ามาแล้วให้ใส่ Username Password ของ phpMyAdmin แล้วจากนั้นก็จะเข้าสู่หน้า phpMyAdmin



3. จากนั้นในด้าน ซ้าย มือ ให้เลือก Database ที่ต้องการ Import Database


4. เมื่อทำการเลือก Database แล้ว ทางด้านขวา ทำการเลือก Import / นำเข้า




5. จากนั้นทำการ Browser ไฟล์ 




6. ทำการเลือกไฟล์ .sql จากนั้นคลิก Open




7. พอคลิก Open เรียบร้อย ในหน้าของ Phpmyadmin ให้กด Go เพืออัพโหลดข้อมูล







บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Server สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วิธี Export Database Mysql ออกมาเป็นไฟล์ ใน PHPMyadmin

วิธี Export Database Mysql ออกมาเป็นไฟล์ ใน PHPMyadmin


วิธี Backup หรือ สำรองฐานข้อมูลใน PHPMyadmin ให้ออกมาเป็น File


การ Export ข้อมูล เป็นการจัดการข้อมูลอย่างหนึ่งที่เชื่อมต่อระหว่าง Database กับเครื่อง User เพื่อประโยชน์หลาย  ๆ ด้าน เช่น เป็นการ Backup ข้อมูลไปในตัว หรือ ต้องการเอา ข้อมูลไปใช้ในงานอื่นเช่น นำไปเชื่อมต่อ กับ Excel เป็นการโชว์ข้อมูล Export เพื่อ Import เป็นข้อมูลอื่น แถมยังเป็นการป้องกันด้านการ ลบ หรือ ทำข้อมูลสูญหาย โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ หากการแก้ไข Database ใหม่มีปัญหา สามารถ อัพโหลด เพื่อใช้ Database เก่าได้

มาดูวิธีการ Export Database Mysql ใน phpMyAdmin กัน

1. เมื่อเข้ามาหน้า Direct Admin แล้วให้ไปที่ phpMyAdmin ในหมวดของ Advanced Features

ในหมวดของ Advanced Features


2. เมื่อเข้ามาแล้วให้ใส่ Username Password ของ phpMyAdmin แล้วจากนั้นก็จะเข้าสู่หน้า phpMyAdmin

เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลที่เราต้องการ
หน้าจอแสดงให้ใส่ Username และ Password เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูล


3. จากนั้นในด้าน ซ้าย มือ ให้เลือก Database ที่ต้องการ Export Database

เลือกในส่วนของที่ต้องการ Export

4. เมื่อทำการเลือก Database แล้ว ทางด้านขวา ทำการเลือก ในส่วนที่ต้องการ Export ติ๊กถูกในช่องตาราง

ที่อยู่ใน PHPMyadmin
สามารถกด Ctrl / Shift ในการเลือกได้

5. เมื่อทำการเลือกในส่วนที่ต้องการ Export แล้ว ด้านบนให้คลิกเลือก ที่คำว่า Export หรือ ส่งออก

อยู่ในส่วนด้านบนของตาราง


6. เมื่อคลิก ส่งออกแล้ว จะปรากฏ dialog box เพื่อกำหนด ประเภทของ Database ให้เลือกไปที่ Sql

ให้เลือก Sql เพราะ สามารถ นำไป Import เพื่อดูข้อมูล ได้กับหลายโปรแกรม

7. จากนั้นด้านล่างจะเขียนว่า ลงมือ หรือ บันทึก ทำให้การคลิก ไฟล์จะถูกทำการ download จะปรากฏชื่อ Database.sql

Browser จะทำการดาวน์โหลดอัตโนมัติ



บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Server สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิธีเข้า phpMyAdmin ว่าอยู่ตรงไหน ใน Direct Admin ของเว็บโฮสติ้งต่างๆ

วิธีเข้าใช้ หัวข้อ PHP MyAdmin  ใน Direct Admin


หา phpmyadmin ใน Direct Admin

1. เมื่อเข้ามาในหน้าของ Direct Admin แล้ว PHP MyAdmin จะอยู่ในหมวดของ Advanced Features

ของ Hosting
ภาพแสดงตำแหน่ง phpMyAdmin ใน Direct Admin

2. เมื่อเข้ามาในหน้าของ Advanced Features แล้ว จะมี POP UP เพื่อให้เรากรอก USERNAME : PASSWORD

หรือ ฐานข้อมูล
หน้าจอให้กรอก Username และ Password ของ Database

3. หากไม่แน่ใจหรือจำ PASSWORD ไม่ได้ ผู้ใช้สามารถกำหนด PASSWORD ใหม่ได้ (แต่อย่าลืมไปเปลี่ยน Password ใหม่ใน Code ของเว็บด้วยนะครับ, ไม่งั้นเว็บคุณอาจจะโชว์ Error ว่าคุณใส่ Username หรือ Password ผิด เพราะคุณดันไปตั้ง Password ใหม่แล้ว)โดยเข้าไปที่หัวข้อ MySQL Management

แสดงลิ้ง (Link)  หัวข้อ MqSQL Management ใน Direct Admin 

4. เมื่อเข้ามาแล้ว ให้คลิกไปที่ชื่อ DATABASE

ในเว็บโฮสติ้ง
หน้าจอแสดงชื่อ ฐานข้อมูล (Database)

5. เลือกที่หัวข้อ Modify Password

หรือ ฐานข้อมูล
วิธีเปลี่ยน Password MySQL หรือ ฐานข้อมูล เพื่อเข้า phpMyAdmin

6. กรอก PASSWORD ใหม่ และ ยืนยัน PASSWORD จากนั้นคลิกที่ SAVE

หน้าจอแสดงการให้ตั้ง Password บน phpMyAdmin

7. เมื่อสามาถกำหนด PASSWORD ได้แล้ว ผู้ใช้คลิกเข้าใช้งาน PHP MyAdmin แล้วกรอก USERNAME : PASSWORD : จะเข้าสู่หน้าการใช้งานของ PHP My Admin

เมื่อเข้าถึง phpMyAdmin


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Server สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

.htaccess คือ อะไร และ วิธีใช้งานและตั้งค่าอย่างไรบน Web Server

.htacess คืออะไร 



ความหมายของ .htacess

.htaccess คืออะไร หลายๆคนที่หัดทำเว็บ หรือ เริ่มใช้งานเกี่ยวกับการจัดการเว็บ ใหม่ ยังสงสัยและงงอยู่กับสิ่งนี้ .htaccess ก็คือ ไฟล์ที่ทำการกำหนด การเข้าถึงข้อมมูลต่าง ๆ ที่ทำการตั้งค่า Permission ไว้ ซึ่งสามารถเขียน ทำได้หลายวิธี เพื่อป้องกัน hacker บุกรุกในช่องโหว่ต่าง ๆ ภายในไฟล์อาจจะประกอบไปด้วยหลาย ๆ คำสั่งไฟล์ จะถูกเจาะจงไว้บาง directory จะบังคับใช้ใน directory นั้น

สามารถเขียนได้จาก notepad แล้ว save เป็น .htaccess


อย่างเช่นถ้าหาก Folder บางตัว ตั้ง chmod ไว้ 777 ทำให้ทุก User ที่ใช้งาน หรือ hacker เข้ามาทำการแก้ไข หรือ เปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ ได้ ทำให้เกิดการสร้าง .htacess ขึ้นมา ซึ่งเขียน code ต่างๆใส่ใน notepad แล้วตั้งชื่อไฟล์ไว้ว่า .htacess แล้วใส่ code ที่ทำการกำหนดลงไป จากนั้นก็ทำการ Upload ใส่ Folder ที่ต้องการตั้งค่าไว้



บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทำไมต้อง Backup Code หรือ ไฟล์ จาก Web Hosting ลงเครื่องตัวเองบ่อยๆ

เหตุผลง่ายๆ ที่ทำไมคุณต้อง Backup Website บ่อยๆ

แม้แต่ชีวิต ยังไม่มีอะไรที่แน่นอน แล้ว Web Server?

พูดง่ายๆเลย แค่เราเป็นคนปกติทุกคนก็กลัวตาย หรือ กลัวสุขภาพไม่ดี เช่น เป็นโรคหัวใจ, โรคปอด, โรคสมอง ซึ่งมันก็เป็นปัจจัยหรือความเสี่ยงที่ทำให้คนเราตาย ถ้าอวัยวะใดๆ อวัยวะหนึ่ง ทำงานผิดปกติไป สิ่งเหล่านี้มันก็คล้ายๆ กับองค์ประกอบของ Web Server 1 เครื่อง ซึ่งมันก็ประกอบไปด้วย หลายๆ อย่าง ตั้งแต่ ระบบไฟ, อุปกรณ์ Hardware เช่น Hardisk, Ram Software: OS, Antivirus เป็นต้น ถึงแม้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกตั้งอยู่ที่ Data Center หรือพูดง่ายๆเลย ที่ที่มันมีความมั่นคงสูง แต่ถ้าพูดกันตรงๆ ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใด นั้นมีปัญหา หรือ ป่วย มันก็อาจจะทำให้ Web Server ของคุณล่ม และ ทำงานไม่ได้เลย

เมื่อรู้ว่าไม่มีอะไรแน่นอน การป้องกัน เป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่เราทำได้

คุณไม่รู้ได้เลยว่า ในอนาคต ตึกที่เป็น Data Center หรือ Hardware ของ Web Server มันจะพังวันไหน, หรือ อยู่ดี ระบบไฟทั้งหมดล่มโดยไร้สาเหตุ เพราะมันก็คืออุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ ไม่ใช่อุปกรณ์พิเศษที่สวรรค์ผลิตมา แล้ว ห้ามพัง ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำได้ คือ การสำรองข้อมูล (Backup) เผืิ่อว่าวันใดวันหนึ่ง Server เดี้ยงขึ้นมาเราก็ยังมีไฟล์สำรองไว้ใช้

ไม่ใช่เรื่องตลก มันเป็นเรื่ิองจริงที่เกิดขึ้น

คุณอาจจะคิดว่า เป็นไปไม่ได้หรอก เพราะ บริษัทผู้ให้บริการ Web Hosting เรา ดูออกจะมีชื่อเสียง หรือ เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่, เค้าต้องดูแลข้อมูลเว็บไซต์ของเราเท่าชีวิต, แต่ต้องยอมรับความจริงว่า บริษัทที่ให้บริการเว็บโฮสติ้งเอง ก็ยังไม่รู้เลยว่าอุปกรณ์มันจะพังวันไหน ถึงแม้จะดูแลอย่างดีที่สุดแล้ว, และเรามักจะได้อ่านกระทู้ตามเว็บต่างๆ ที่คนทำเว็บ มานั่ง บ่น หรือ ต่อว่า ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งว่าทำข้อมูลเราหาย หลายๆครั้งก็เกิดขึ้นกับ เว็บไซต์ที่มีชื่อเสี่ยงเลยด้วยซ้ำ

ฝึก Backup ให้เป็นกิจวัตร 

เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว ว่าไม่มีอะไรจิรัง ยั่งยืน, ดังนั้นการ Backup ข้อมูลเป็นเรื่องที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ด้วยตัวเราเอง, คุณควรตั้งเป็นกฏของตัวคุณเอง และ พูดกับตัวเองบ่อยๆ ว่า ฉันจะต้องมานั่ง Backup ข้อมูล ทุกๆอาทิตย์ หรือ ทุกๆ เดือน, ถึงแม้ว่ามันจะเป็นสิ่งที่น่าเบื่อมากก็ตาม

ไม่มีใครช่วยคุณได้นอกจากตัวคุณเอง

ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง, ในความคิดส่วนตัวผมเองยังไม่เคยเห็นบริษัทไหนเลย ที่เขียนในเอกสารหรือสัญญาอย่างเป็นทางการว่า ถ้าข้อมูลหาย บริษัทจะชดเชยค่าเสียหายให้เป็นเงินกี่บาท, แต่ที่เห็นแน่ๆ และ บ่อยๆ เลยคือ บริษัท จะไม่รับผิดชอบต่อข้อมูลใดๆ หากเกิดเหตุการณ์สุดวิสัย หากพูดกันตรงๆ คือ ลูกค้าอย่าลืม Backup เอาไว้ละชุดนึง เผื่อ เว็บโฮสติ้งของบริษัทฉันเกิดอะไรขึ้นมา ลูกค้าจะได้มี Code สำรองจากการที่ลูกค้า Backup เอาไว้เอง


ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งมาตรฐานสากล
โดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

CHMOD Folder ใน Web Hosting ผ่านโปรแกรม FTP คือ อะไร และใช้งานอย่างไร

ความหมายของ CHMOD คือ อะไร และ ใช้งานอย่างไร อย่างละเอียดที่สุด และ เข้าใจง่าย

CHMOD Folder คือ อะไร

การทำเว็บไซต์ส่วนใหญ่ ต้องมีการกำหนดค่าความมีสิทธิ์ในการเข้าใช้งาน File ต่าง ๆ คนที่ทำเว็บไซต์ใหม่ ๆ อาจจะงงอยู่กับการตั้งค่านี้ CHMOD ย่อมากจาก Change Mode คือค่าความมีสิทธิ์ที่จะเข้าใช้ File หรือ Directory นั้น ว่าใครจะสามารถทำอะไรส่วนใหนได้บ้าง กล่าวคือ CHMOD ก็คือ การตั้งค่า Permission สิทธิความสามารถ ผู้ใช้งานในการ อ่านเขียน แล้วการเข้าถึงไฟล์ และ โฟลเดอร์ต่างๆ ของเว็บไซต์

วิธีตั้ง CHMOD 

การตั้งค่า CHMOD มีวิธีการตั้งค่าหลายแบบด้วยกัน ทั้งในส่วนของ Direct Admin และ การตั้งค่าผ่านโปรแกรม FTP มาดูวิธีการตั้งค่าในแต่ละส่วนกันครับ ว่ามีวิธีการอย่างไร

ตั้งผ่าน File Manager ใน Direct Admin


  1. ตั้งผ่าน File Manager ใน Direct Admin ขั้นตอนแรกให้เข้าไปที่หัวข้อ File Manager




  2. จะมี File และ Folder ต่าง ๆ ให้ทำการคลิกไปที่ Folder นั้น หรือ กดติ๊กถูกในช่องของ Select 
  3. ด้านล่างจะมี Text box ให้ใส่ค่า Permission แล้วคลิกที่ Set Permission 
  4. ค่าของFolder นั้น ก็จะเป็น Permission ที่ถูกกำหนด 

วิธีตั้งผ่านโปรแกรม FTP (ในหัวข้อนี้ผู้เขียนใช้โปรแกรม Filezilla ในการอธิบาย)

  1. ทำการเชื่อมต่อ โปรแกรม FTP เข้าสู่ Web Hosting ของคุณ


  2. ทำการเลือก Folder ที่ต้องกำหนด ด้านขวา คือในส่วนของ Folder ที่อยู่บน Web Hosting
  3. คลิกขวาที่ Folder นั้น ในตัวเลือกด้านล่างสุด จะมีคำว่า File permissions...


    ด้วยโปรแกรม FTP

  4. จะปรากฏหน้าต่างของ Change file attributes ส่วนด้านล่าง จะมี Text box ของ Numeric value: ให้ใส่ค่า CHMOD ลงไปจากนั้น คลิกที่ OK

ค่า CHMOD จะกำหนดเป็นอะไรดี รวมถึงความเสี่ยง

ตัวเลขหลักที่การในกำหนดค่า CHMOD

การกำหนด CHMOD นั้นจะมีตัวเลขที่ต้องใช้อยู่ 3 หลัก ในแต่ละหลักของตัวเลขก็จะมีความหมายแตกต่างกันออกไป 

ในส่วนของหลักแรก 

จะแสดงถึงสิทธิ์ในการเข้าใช้งาน File ของผู้เป็นเจ้าของไฟล์ มีอยู่ 3 ตัวเลขในการกำหนด
(4) หมายความว่า เจ้าของ ไฟล์ มีสิทธิเพียงแค่สั่งไฟล์ทำงานได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่านไฟล์นั้นได้
(6) หมายความว่า เจ้าของ ไฟล์ มีสิทธิเพียงแค่สั่งไฟล์ทำงานได้ มีสิทธิ์ในการเขียนไฟล์นั้นอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์อ่านไฟล์นั้นได้
(7) หมายความว่า เจ้าของ ไฟล์ มีสิทธิ์กระทำทุกอย่างกับไฟล์นั้น เช่นเขียน อ่าน กำหนด สั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน ได้ทุกอย่าง

ในเลขหลักที่สองผู้ใช้กลุ่มเดียวกับเจ้าของไฟล์ 

(4) หมายความว่า ผู้ใช้กลุ่มเดียวกับเจ้าของไฟล์ มีสิทธิเพียงแค่สั่งไฟล์ทำงานได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่านไฟล์นั้นได้
(6) หมายความว่า ผู้ใช้กลุ่มเดียวกับเจ้าของไฟล์ มีสิทธิเพียงแค่สั่งไฟล์ทำงานได้ มีสิทธิ์ในการเขียนไฟล์นั้นอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์อ่านไฟล์นั้นได้
(7) หมายความว่า ผู้ใช้กลุ่มเดียวกับเจ้าของไฟล์ มีสิทธิ์กระทำทุกอย่างกับไฟล์นั้น เช่นเขียน อ่าน กำหนด สั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน ได้ทุกอย่าง

ในเลขหลักที่สามสำหรับผู้ใช้อื่น 

(4) หมายความว่า ผู้ใช้อื่น มีสิทธิเพียงแค่สั่งไฟล์ทำงานได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่านไฟล์นั้นได้
(6) หมายความว่า ผู้ใช้อื่น มีสิทธิเพียงแค่สั่งไฟล์ทำงานได้ มีสิทธิ์ในการเขียนไฟล์นั้นอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์อ่านไฟล์นั้นได้
(7) หมายความว่า ผู้ใช้อื่น มีสิทธิ์กระทำทุกอย่างกับไฟล์นั้น เช่นเขียน อ่าน กำหนด สั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน ได้ทุกอย่าง

โดยค่า Permission ที่ใช้งานบ่อย ๆ จะมีค่าดังนี้

644 คือ การอนุญาติให้คนทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว
755 คือ การอนุญาติให้ผู้ใช้งานทั่วไปใช้งานได้ แต่ไม่สามารถทำการแก้ไขได้
777 คือ การอนุญาติให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถ อ่าน เขียน และทำการแก้ไข ใช้งานได้ทุกอย่าง

ตัวอย่างถ้าเจ้าของไฟล์ตั้งค่า CHMOD เป็น 777 จะหมายความว่า ผู้ใช้งานทุกกลุ่มสามารถที่จะเข้าถึงไฟล์ในได้ทุกอย่าง ตามสิทธิ์ที่กล่าวมากับไฟล์ที่มีการกำหนดค่า CHMOD เป็น 777
CHMOD 777 จะมีความเสี่ยงมากสุด ในเรื่องของความปลอดภัย เพราะใคร ๆ ก็สามารถ ที่จะสามรถแก้ไขทำลายข้อมูลได้ ควรตั้งเฉพาะ ที่ Folder ที่เหมาะสม อย่าตั้งเพราะใช้งานง่าย เพราะอาจจะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิธี กู้เว็บหรือ Restore Backups ใน Direct Admin จากไฟล์ที่เคย Backup ไว้

โดยเฉพาะไฟล์นามสกุล tar.gz ที่เป็นที่นิยมใน Direct Admin
วิธีนำ File ที่เคย Backup หรือสำรองข้อมูลเอาไว้ใน Server  ขึ้นไปใช้งานจริงบนเว็บโฮสติ้ง


วิธี กู้ข้อมูล เว็บไซต์ จากไฟล์ที่เรา Backup เอาไว้ใน Web Hosting

วิธีการนี้เป็นวิธีที่ไม่ได้มีความซับซ้อนแต่อย่างไร, แต่ต้องบอกก่อนว่าถ้ายังไม่แม่นหรือไม่เข้าใจการทำงานจริงๆ โปรดปรึกษาผู้ให้บริการ เว็บโฮสติ้งของคุณก่อน, เพราะถ้าพลาด เว็บของคุณทั้งหมด อาจจะหายไปต่อหน้าต่อตา ภายในไม่กี่วินาที

บทความด้านล่างจะอธิบายพร้อมบอกวิธีการนำไฟล์ที่เราเคย Backup ไว้ใน Direct Admin ซึ่งเป็นระบบ Control Panel ของ Web Hosting ขึ้นไปทับ, เปรียบเสมือนย้อนอดีตไปยังไฟล์ ในวันที่ Backup เอาไว้

ขั้นตอน การกู้ข้อมูล เว็บไซต์ Step by Step

หรือ การนำข้อมูลที่สำรองไว้ขึ้นไปบนเว็บโฮสติ้ง
ขั้นตอนที่ 1: หลังจาก Login ในหน้า Direct Admin ให้คลิกไปยัง Create/Restore Backups

ซึ่งจะเป็นนามสกุล .tar.gz ทั้งหมด
ขั้นตอนที่ 2 : ให้เลือกไฟล์ที่เราต้องการนำขึ้นไป
(โดยปกติแล้วการ Backup หนึ่งครั้ง มันจะสร้าง File Backup อันใหม่
และมันจะไม่หายไปไหน ถ้าคุณไม่ได้ไปลบมันเอง,
ดังนั้นถ้า Backup อะไรไว้ใน Server อย่าไปลบทิ้ง โดยไม่ได้ดูอย่างถี่ถ้วนก่อน)

เช่น ข้อมูลในเว็บ ค่า DNS ที่เราเคยตั้งเป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 : หน้าจอจะแสดง ว่า คุณกำลังเอาไฟล์อะไรขึ้นไปทับอยู่,
ซึ่งต้องดูให้แม่นอีกครั้งว่าชื่อไฟล์ตรงกับชื่อเราต้องการจริงๆ, หลังจากนั้นให้กดปุ่ม Restore Selected Items
หลังจากคุณกดปุ่มนี้ รอประมาณ 5-10 นาที,  เว็บไซต์คุณจะแสดงข้อมูลที่คุณเลือกไว้

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting สำหรับบริษัท มาตรฐานอันดับ 1 ของประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิธี Backup Website (สำรองข้อมูล) ใน Direct Admin มาเก็บไว้ในเครื่องตัวเอง


วิธี Backup Website ลงเครื่องตัวเอง

วิธีการ Backup ข้อมูลใน Web Site จาก Server ของผู้ให้บริการ Web Hosting ลงเครื่องตัวเอง

นักทำเว็บหลายๆคน, คงมีความกังวลอยู่ไม่น้อยว่าข้อมูลที่อยู่ใน Web Server ที่เช่าจากผู้ให้บริการ Web Hosting นั้นจะอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไปหรือไม่, หลายๆคนจึงมีการ Backup ทั้ง Code และ Database ลงเครื่องตัวเองอยู่ตลอด, แต่เมื่อทำไปสักพักรู้สึกเบื่อ เลยเลิกทำไปเฉย, ทำให้เว็บไซต์และฐานข้อมูลตกอยู่ในสถานการณ์แล้วแต่ดวง, ถ้าวันไหนโดนไวรัสโจมตี อาจมีสิทธ์งานเข้า เพราะไม่มีไฟล์สำรองไว้ใช้

ผู้ให้บริการมักเขียนว่ามีการ Backup ข้อมูลของลูกค้า แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าเค้าจะกู้ข้อมูลให้คุณได้เสมอ

ผู้ให้บริการเขียนโฆษณาไว้จริง ว่ามีการ Backup ข้อมูลของลูกค้าอยู่ตลอด, แต่เค้าก็ไม่เคยบอกว่า ข้อมูลของลูกค้าไม่สูญหายแน่นอน, เพราะผู้ให้บริการ Web Hosting มีเว็บอยู่เป็นพันๆ หมื่นๆ เว็บ, ผู้ดูแลคงไม่มีเวลามานั่งดู Server ทุกเครื่อง, ว่าระบบสำรองข้อมูลเครื่องไหนใช้ได้, เครื่องไหนมีปัญหา, ดังนั้นมันเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่คุณต้อง Backup ข้อมูลบน Web Server มาเก็บที่เครื่องตัวเองเสมอ

7 ขั้นตอน ง่ายๆ วิธี Backup หรือสำรองข้อมูล จาก Web Server ลงเครื่องตัวเองใน Direct Admin ที่คุณต้องให้ความสำคัญมากที่สุด


DirectAdmin
ขั้นตอนที่ 1 ไปยัง Create/Restore Backups ในหน้า Direct Admin

หรือ สำรองข้อมูลไหนบ้าง
ขั้นตอนที่ 2 เลือก File ที่ต้องการ Backup โดยแนะนำให้ Tick ทั้งหมด และ กดปุ่ม Create Backup

ขั้นตอนที่ 3 : หน้าจอแสดงสถานะว่ากำลัง Backup ข้อมูลอยู่ โดยเมื่อเสร็จสิ้นจะมีการส่ง อีเมล์ไปให้คุณทราบ
(ซึ่งในขั้นตอนนี้ จริงๆ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที, คุณควรได้รับอีเมล์แจ้งเตือนว่าเสร็จแล้ว) หากไม่ได้รับ
ควรติดต่อผู้ให้บริการ Web Hosting อย่างเร่งด่วน

เว็บไซต์ของคุณเสร็จสิ้น
ขั้นตอนที่ 4: คุณจะได้รับอีเมล์แจ้งเตือนว่า ระบบได้ทำการ Backup ข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว
(คุณควรได้รับอีเมล์นี้ภายใน 5-10 นาที หลังจากกดปุ่ม Backup) ถ้าไม่ได้รับควรรีบแจ้งผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง
ขั้นตอนที่ 5 : ให้ Login ไปยัง Direct Admin และไปหัวข้อ Create/Restore Backups อีกครั้ง


ขั้นตอนที่ 6 : ให้เลื่อนลงมาด้านล่าง จะพบ Link: Click here for a list of your current backups
หรือแปลเป็นไทยง่ายๆ ว่า ดูไฟล์ Backup ล่าสุด
ตัวเองอีกครั้ง
ขั้นตอนที่ 7: จะพบ File ที่ระบบได้ทำการ Backup, โดยคุณควรที่จะ Download File ตัวนี้
เก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเองเพื่อความชัวร์

บทความโดย
Email Hosting มาตรฐานสูงสุด พร้อม ระบบ Backup ที่ทันสมัย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการเก็บไฟล์ และ Backup File ไม่ให้เว็บไซต์ หรือ Code ตัวเองติดไวรัส

หรือโดนไวรัสโจมตี
วิธีป้องกันไม่ให้ File หรือ Code เว็บไซต์ของคุณติดไวรัส

ไม่มีใครอยากให้ Code หรือ File ใน เว็บไซต์ตัว เองติดไวรัส

ถ้าใครบอกว่าเครื่องตัวเองไม่มีไวรัสแม้แต่ตัวเดียว ตั้งแต่ โปรแกรม Antivirus Scan ทั้งเครื่องทุก Drive แล้วมั่นใจชัวร์ว่าไม่มี, โดยเฉพาะนักทำเว็บไซต์และโปรแกรมเมอร์ที่มี Code  .html, .js, .php, .csc  อาจจะต้องมีการระวังมากกว่าชาวบ้าน เพราะ File ของตัวเองมีมูลค่า และ อาจจะสำคัญต่อชีวิตการทำงาน, แต่ผมมั่นใจได้เลยว่า ไม่มีทางหรอกที่คุณจะใช้งานคอมพิวเตอร์ตัวเองแล้วจะ "ไม่มีไวรัส สักตัว" เพราะไวรัสเป็นลักษณะของ "นามธรรม" คือ พูดตรงๆ เลย คุณไม่สามารถเอามือไปจับไวรัสได้, แต่ที่รู้ว่าไม่มีเพราะโปรแกรมสแกนไวรัสต่างๆมันรายงาน


ในเครื่องเกาะได้
ไฟล์ตระกูลเว็บไซต์ เช่น PHP, HTML,JS,CSS ไวรัสชอบ และ เจาะง่ายเป็นพิเศษ,
เพราะไฟล์เหล่านี้เป็น Text, ไวรัสแค่เขียน Code เพิ่มเข้าไป, ไฟล์เหล่านั้นก็เป็นไวรัสทันที

อูส่า Backup ไว้ แล้ว ไฟล์ที่ Backup ยังติดไวรัสอีก

นักทำเว็บและโปรแกรมเมอร์ ทั้งหลาย, รู้ๆกันอยู่ว่าสักวันเครื่องของฉันก็ต้องโดนไวรัส, ดังนั้นเลย Backup Code แม่งเลย, ทุกวัน, หรือวันละหลายๆครั้ง, แต่เวลา Code ที่เป็นตัวหลักติดไวรัส, ก็หวังมาพึ่ง Code ที่ Backup ไว้ในเครื่องตัวเอง แต่ ยิ่งกว่าละคร Code ที่ Backup แม่งเสือกติดไวรัสอีก ชิบหายแล้ว


การจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบ ZIP ทำให้ไฟล์ต่างๆ ที่คุณ Backup ไว้ โดนเจาะได้ยากมาก

วิธีการเก็บไฟล์ Code เว็บไซต์ให้ปลอดภัยจากไวรัส

จริงๆ เทคนิคนี้เป็นวิธีที่ใครๆ ก็ทำเป็นตั้งแต่เด็กประถม, แต่มีน้อยคนที่จะรู้ว่ามันมีประโยชน์มหาศาลอย่างนี้, คือ มันป้องกันไฟล์และ Code ต่างๆในเว็บไซต์ของคุณจากไวรัสได้แน่ๆ, ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ของคุณจะมีไวรัสกี่พันตัว เดินไปเดินมาอยู่ นั่นคือการ Zip  Folder ของไฟล์ที่คุณต้องการ

เนื่องจากการ Zip นั้นเป็นการ เอาไฟล์ทั้งหมดรวมกันเป็นไฟล์เดียว, และมากกว่านั้นมันยังมีการเข้ารหัสอีก, ดังนั้นไวรัสคงไม่มีทางเข้าไปเจาะไฟล์ Zip แน่นอน, ถ้าไม่เชื่อ คุณลองสังเกตุเองง่ายๆ ว่า โปรแกรมสแกนไวรัสของคุณ มันเคยเตือนคุณมั้ยว่า File .Zip นั้นติดไวรัส คำตอบคือไม่มี, แถมไวรัสยังไม่มีโอกาสเข้าไปทำลายอะไรได้เลย และ นี่คือเหตุผลว่าทำไม ควร Backup Code ของคุณเก็บไว้เป็น Folder และ Zip มันอีกที

ยังสามารถนำไปประยุกต์ในการเก็บไฟล์อื่นๆ ได้ด้วย

นอกจาก File ที่เป็น .html, .js, .php, .csc หรือไฟล์เว็บอื่นๆ มากกว่านั้นคุณยังเอาไปประยุกต์ในการ Backup File อื่นๆ เช่น File Word, Excel หรือไฟล์อื่นๆ ทั้งหมด โดยให้ Zip มันเอาไว้, ก็อุ่นใจได้เลย

บทความโดย
บริษัทเว็บโฮสติ้ง, บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด,
ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งมาตรฐานโลก

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การใช้ File Manager หรือ Upload file ผ่านหน้าเว็บ ใน Web Hosting Direct Admin

File Manager

ผ่านหน้าเว็บไซต์
การใช้ File Manager ใน Web Hosting Direct Admin


File Manager เป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการไฟล์ต่าง ๆ บน Host  โดยสามารถใช้งานผ่าน Web Browser ได้เลย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการอัพโหลดไฟล์ ในขณะที่ไม่สะดวกในการงานโปรแกรม FTP

ส่วนประกอบหลักและการใช้งานฟังก์ชั่นต่าง ๆ 

1. เมื่อเข้ามาหน้า Home ในหมวดของ Your Account ให้ทำการคลิกที่หัวข้อ File Manager


หัวข้อ File Manager ใน Direct Admin

2. เมื่อคลิกเข้ามาใน File Manager แล้วจะเจอ รายการไล์ต่าง ๆ ที่อยู่ใน Host ห้ามทำการลบไฟล์ หรือโฟลเดอร์ที่เราไม่รู้จักใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะทุกไฟล์ และ โฟล์เดอร์มีความสำคัญหมด

หากมีการลบอาจจะทำให้การเข้าใช้งานผ่าน Web browser มีปัญหา


3. ในโฟล์เดอร์ของ public_html ให้ทำการเก็บไฟล์ทั้งหมดไว้ในโฟลเดอร์นี้เท่านั้น เพราะ ถ้าหาก ไว้ที่
โฟลเดอร์อื่น การเรียกใช้ไฟล์จะไม่สามารถทำได้ ซึ่งควรมี index.html หรือ index.php ไว้ในหน้านี้เพราะ จะเป็นหน้าแรกในการเข้าผ่าน Web browser

index.html และ .index.php


4. หากต้องการสร้าง Folder ใหม่ ให้ทำการคลิกที่ Create New Folder แล้วใส่ชื่อ Folder ที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Create


5. การอัพโหลดไฟล์ ให้คลิกที่ Upload files to current directory เลือกไฟล์ที่ต้องการ สามารถทำการเลือกไฟล์เพิ่มให้ทำการ คลิก เพื่ออัพโหลดในช่องถัดไป


แต่ละครั้งสามารถอัพโหลดไฟล์ได้สูงสุด 8 ไฟล์


6. หากต้องการลบไฟล์ที่ไม่ใช้งานแล้วเพื่อประหยัดพื้นที่การใช้งาน ให้ทำการติ๊กถูก ด้านหลังในช่องของ Select แล้วคลิกที่ปุ่ม Delete


ก่อนลบควรทำการตรวจสอบอย่างละเอียด

 7. การ Set Permission เป็นการกำหนดการอนุญาติให้บุคคลต่าง ๆ การเข้าใช้งาน การติดต่อไฟล์ โฟลเดอร์นั้น

การตั้งค่า Permission มีความสำคัญมาก อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่สามารถเข้าใช้งานได้

โดยค่า Permission ที่ใช้งานบ่อย ๆ จะมีค่าดังนี้

644 คือ การอนุญาติให้คนทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว
755 คือ การอนุญาติให้ผู้ใช้งานทั่วไปใช้งานได้ แต่ไม่สามารถทำการแก้ไขได้
777 คือ การอนุญาติให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถ อ่าน เขียน และทำการแก้ไข ใช้งานได้ทุกอย่าง

เพื่อความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน การตั้งค่า Permission 7777 เป็นค่าที่ไม่สามาถป้องกัน หรือ มีความปลอดภัยน้อยที่สุด หากไม่จำเป็นอย่างตั้ง Permission เป็น 777 เพราะ จำทำให้เว็บเสี่ยงต่อการโดน Virus และ Hacker มากที่สุด


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด