วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

[MySQL] วิธี Export Database ทุก Table







เข้าไปที่ phpmyadmin เลือกหัวข้อ Export  เลือกที่ Quick   และ ให้เลือก format : SQL


บทความที่เกี่ยวข้อง


[MySQL] วิธีสร้าง User เพิ่มใน Database






1. เข้า DA แล้ว เข้าไปที่โดเมนที่ต้องการ  จากนั้นเลือกที่ MySQL Management


             
2. คลิกเข้าไปที่ database ที่มีการสร้างไว้แล้ว


3.เลือกไปที่ Create New  Database


4.ใส่ชื่อใหม่ที่ต้องการ


5. นำ user ที่ได้ไปใส่ใน URL: XXX.XX.XXX/phpmyadmin


บทความที่เกี่ยวข้อง



[MySQL] วิธี Export Database Table เดียว






เลือก table ที่ต้องการ export  จากนั้นเลือกที่หัวข้อ Export  แล้วเลือกที่ Quick 


บทความที่เกี่ยวข้อง


วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความเสี่ยงของภาษาที่เขียนหรือทำเว็บ, ที่มีโอกาสโดนไวรัสมากที่สุด

ความเสี่ยงของเว็บไซต์แบบไหน ที่มีโอกาสติดไวรัสสูงที่สุด ?

เว็บไซต์ ภาษาอะไร และ แบบไหน ติดไวรัสเยอะที่สุด

ผู้เขียนขอเรียงตามรูปแบบการติดไวรัสของการใช้งานเว็บไซต์ในรูปแบบต่างๆ ว่า การทำเว็บไซต์แบบไหน ติดไวรัสได้ง่ายที่สุด

  1. เว็บที่ติดไวรัสร้อยละ 90, ติดไวรัสเพราะ โปรแกรม FTP,  ดังนั้นคุณต้องใช้โปรแกรม FTP ที่เป็นโปรแกรมที่มีความปลอดภัยสูง ไม่อย่างนั้นเว็บคุณจะติดไวรัสเอาในระหว่างที่คุณ Upload  ข้อมูลขึ้นไป  แล้ว ไวรัส ก็จะมาเกาะ แล้วก็ Up ขึ้นไปบนเว็บด้วย (ผู้เขียนได้แนะนำโปรแกรม FTP ไว้ในบทความก่อนหน้านี้)

  2. เว็บไซต์ที่มีการ Include File .js จากเว็บอื่นเข้ามา, โดยเฉพาะผู้ที่ชอบของฟรี เช่น Conter นับคนเข้าเว็บ, ผู้ที่ให้บริการฟรีมักจะให้ Code .js มาแปะ เอาไว้, ซึ่งไอตัว .js ตัวนี้แสบมาก หากมันติด
    ไวรัสขึ้นมา, เว็บคุณก็จะติดไปด้วย (ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าไป Include .js ที่อยู่เว็บข้างนอกเข้ามา)

  3. เว็บภาษา PHP ที่มีการ CHMODE Folder,​ โดยเฉพาะ ระบบเว็บสำเร็จรูป เช่น Wordpress, Joomra , ในขั้นตอนการติดตั้ง, จะมีการให้คุณไป CHMODE Folder ตามที่เค้ากำหนด, การที่คุณ CHMODE File หรือ Folder นั้น มีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่คุณจะโดนไวรัส เจาะเข้าไป อย่างไม่รู้ตัว (ลองอ่านบทความเรื่อง CHMODE ก่อนหน้านี้ได้)

  4. เว็บภาษา HTML ล้วนๆ หากเป็นเว็บไซต์องค์กรโดยส่วนใหญ่ มักจะเขียนโดยภาษาง่ายๆ เรียบๆ ด้วยภาษา HTML, ถ้าทั้งเว็บคุณเขียนด้่วย HTML และ ไม่ได้มีการใช้โปรแกรม FTP ที่มีความเสี่ยงจะติดไวรัส, คุณมั่นใจได้ค่อนข้าง 99.99% ว่าเว็บคุณจะไม่โดนไวรัส

  5. เว็บที่มีการใช้ .css ด้วย, จริงๆ แล้วในการเจาะเว็บไซต์ที่มีไฟล์ .css นั้นมีโอกาสได้น้อยมาก และ แทบไม่ต้องกังวลเลยในการใช้ css ในการทำเว็บ


ภาพแสดงความเสี่ยงของเว็บไซต์ที่มีโอกาส ติดไวรัส จาก มาก ไปน้อย 

เว็บสำเร็จรูปติดไวรัส เยอะที่สุด !

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนที่อยู่ในวงการเว็บไซต์กว่า 15 ปี และ มีโอกาสได้ทำเว็บไซต์หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ เว็บไซต์ส่วนตัวง่ายๆ, เว็บสำเร็จรูป (คนที่ไม่ค่อยมีความรู้ด้านคอม จะชอบมาก เพราะใช้งานง่าย) , เว็บสำเร็จรูป เช่น Wordpress, Joomra ไปจนถึง เว็บไซต์ที่เป็นระบบ CRM ของธนาคารขนาดใหญ่ พบว่า "เว็บไซต์สำเร็จรูปในรูปแบบ หรือ มีระบบบริหารจัดการเนื้อหา หรือ เรียกว่า Content Management System (CMS)" ดังนั้น หากคุณใช้งานเว็บไซต์สำเร็จรูป เช่น Wordpress และ Joomra ห้ามประมาทโดยเด็ดขาด, คุณต้องคอย Backup ข้อมูล, และต้อง Backup ให้ถูกต้องด้วย, โดยผู้่เขียนได้เขียนวิธี Backup ที่ถูกต้อง, ไม่อย่างนั้นข้อมูลที่คุณ Backup ก็จะมีไวรัสไปด้วย แล้ว ความเดือดร่้อนจะมาเยือนทันที (อ่านวิธี Backup ที่ถูกต้องได้ในบทความก่อนหน้านี้)


บทลงโทษของเว็บที่ติดไวรัส

จริงๆ แล้วไม่ได้ร้ายแรงขนาดเรียกว่า "บทลงโทษ" แต่ที่เรียกอย่างนี้เพราะว่า มันมีผลเสียต่อธุรกิจ หรือ องค์กรคุณเป็นอย่างมาก, คุณจะคิดอย่างไร เมื่อมีลูกค้าของคุณเข้ามาในเว็บไซต์ แล้วโปรแกรมสแกนไวรัสของลูกค้ามี POPUP ขึ้นมาแจ้งเตือนว่าเว็บคุณมีไวรัส


  1. เว็บที่ติดไวรัส, จะส่งผลต่อการติดอันดับใน Google โดยทันที และ อาจจะร่วงอันดับลงมาอย่างมาก
  2. หากผู้ใช้งานใช้โปรแกรม Google Chorme,  Browser ตัวนี้ จะมีการแจ้งเตือนทันทีเป็นจอแดง, แล้วเขียนว่าเว็บคุณมีไวรัส


วิธีป้องกันไวรัสที่ดีที่สุด

  • ในประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่า, การ Backup Code และ Database ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเองบ่อยๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุด, เพราะในความเป็นจริงคุณไม่มีทางรู้ได้่เลยว่าเว็บคุณจะถูกโจมตีเมื่อไหร่, และมันก็จะมีคนคิดวิธีการใหม่ๆ ในการโจมตีออกมาอยู่เสมอ



บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่มีความเชี่ยวชาญอันดับ 1 ของประเทศไทย



อินเตอร์เน็ตที่ใช้ตามบ้านส่วนใหญ่เป็น IP อะไร ?

IP ที่ใช้ในบ้านหรือองค์กร คือ IP อะไร ?


อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ที่ใช้กันตามสถานที่ส่วนบุคคล เช่น บ้าน มักจะมี IP Address ที่ขึ้นต้นด้วย 192.168.1 .... อีกนัยหนึ่งจะจัดอยู่ในกลุ่มของ Dynamic IP


เราจะสามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง หากเราทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เราจะได้รับ IP Address มา แต่หากเราลองปิด Router และเปิดใหม่ จากนั้นลองเช็ค IP Address อีกครั้ง เราจะสังเกตได้ว่า IP นั้นเปลี่ยนไป


เนื่องจากว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) เขาก็มี IP Address อยู่อย่างจำกัดเช่นเดียวกัน เขาจะประเมินว่าช่วงเวลาใดที่มีคนใช้งานอินเตอร์เน็ตมาก และบริหารจัดการ IP Address ให้พอดีกับความต้องการของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และให้คุ้มค่ากับธุรกิจของผู้ให้บริการเองให้มากที่สุด ดังนั้น IP ที่เราได้รับมาจะถูกเรียกว่าเป็น Dynamic IP (เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ ระบบ Web Server ที่ดีที่สุดของประเทศไทย

Local IP (Lan IP or Private IP) คือ อะไร ?

Local IP = Private IP คือ อะไร ?

Local IP หรือ Private IP ก็คือ IP Address ที่อยู่ในวง Lan เดียวกัน หรือข่ายเดียวกัน
เช่น บริษัทแห่งหนึ่ง มีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตโดยใช้ Router ตัวเดียวกัน มักจะเป็นเลข 192.168.1..... ซึ่งจะเรียกกันว่า Local IP นั่นเอง Local IP ที่อยู่คนละวงแลนด์ สามารถมีชุดตัวเลขที่เหมือนกันได้ แต่เราจะไม่สามารถเรียกดูผ่านระบบ Internet ได้เลย จะรู้กันภายในเท่านั้น


เมื่อมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต Router ก็จะทำการแจก Local IP ให้กับผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งโปรแกรมเมอร์สามารถตั้งค่าไว้ได้ว่า จะให้ IP ของเครื่องใด เปิดเว็บอะไรได้บ้าง ไม่สามารถเปิดเว็บอะไรได้บ้าง ตามองค์กรต่างๆ มักจะไม่อนุญาตให้เปิด Facebook หรือ Youtube ระหว่างการทำงาน แต่ก็เป็นไปที่ว่าโปรแกรมเมอร์อาจจะไม่ได้ Block เว็บเครื่องตนเอง คือ แอบเล่นซะเอง ก็สามารถทำได้โดยการกำหนดขอบเขตการทำงาน การใช้อินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ของแต่ละเครื่องด้วย IP Address นี่แหละ


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Server อันดับ 1 ของประเทศไทย

ทำไมองค์กรหรือบริษัทต่างๆ จึงต้องใช้ IP จริง

IPจริง คือ อะไร และดีอย่างไร?

ตามองค์กรหรือบริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้ IP จริง (จำเป็นต้องยอมลงทุน) อยากให้ผู้อ่านลองมองภาพว่า หากเราต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยทุกสัปดาห์ ปัญหาที่เกิดขึ้นของคนที่จะต้องติดต่อเรา สนทนาเรื่องงาน/ส่วนตัวกับเราโดยตรง คงลำบากไม่มากก็น้อย


ดังนั้นการใช้ IP Address ที่เป็นลักษณะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Public IP) ไม่ได้ช่วยตอบโจทย์ได้ว่า บริษัทหรือองค์กรของคุณนั้นมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เพราะ IP Address มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) องค์กรหรือบริษัทฯ จึงจำเป็นต้องยอมลงทุนเช่า IP จริง ที่จะสามารถบ่งบอกที่ตั้ง และแสดงตัวตนต่อสาธารณะว่าเราเป็นองค์กร/บริษัท เราจะสามารถเรียกดู IP Address ได้ทุกหนแห่ง


ประโยชน์ของ IP จริง ต่อองค์กร หลักๆ ก็คือ การสร้างเว็บไซด์ (Web Server) เพราะชื่อ Domain ของเราความจริงแล้วก็เป็นชุดตัวเลข IP Addrees นั่นเอง แต่เพื่อความสะดวกต่อการจดจำ เราก็อาจจะตั้งชื่อให้ผู้พบเห็นจดจำได้ง่าย หรือเป็นชื่อที่ติดตลาด เช่น Sanook.com หรือ Kapook.com เป็นเทคนิคการตลาดที่น่าเลียนแบบทีเดียว


ทำไม องค์กร/บริษัท ไม่ใช้ IP ปลอม?


ถ้าหาก IP Address ของเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (IP ปลอม) นั่นหมายความว่า เราจะต้องแจ้ง IP Address แก่ผู้ที่จะติดต่อเราทุกครั้ง ซึ่งถือเป็นความลำบากและไม่สมควรทำอย่างมาก (ไม่มีใครทำ)


ตามสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยศิลปากร 202.44.135.15 เป็น IP จริง และโดยส่วนใหญ่เขาจะทำการเก็บ Log ของการใช้งานอินเตอร์เน็ตแต่ละเครื่องไว้ ตามช่วงเวลา วันที่ เพื่อตรวจสอบในกรณีที่มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกระทำการที่ผิดต่อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ผิดกฎหมาย ทางสถาบันอาจจะได้รับการฟ้องร้อง หรือเป็นผู้ต้องสงสัยในการกระทำผิดดังกล่าวโดยไม่รู้ตัว เพราะ IP Address ที่ตำรวจใช้เป็นหลักฐานก็คือ IP ของมหาวิทยาลัย คราวนี้ก็เป็นหน้าที่ของสถาบันที่จะต้องตามตัวผู้กระทำผิด โดยสามารถแกะรอยได้ว่ามีผู้ใช้งานคนใดที่กระทำสิ่งที่ไม่ดีอยู่ ซึ่งทำได้ง่าย คือ ตรวจสอบ Log การใช้งานตามช่วงเวลา อีกประเด็นที่ทางสถาบันจะรู้ได้ก็คือ Local IP หรือ IP Address ที่อยู่ในวงแลน ของเครื่องที่กระทำผิด ว่าเครื่องนั้นตั้งอยู่จุดใดของมหาวิทยาลัย แล้วก็อาจจะตรวจสอบจากกล้องวงจรปิดด้วย


บทความโดย

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Server อันดับ 1 ของประเทศไทย