วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธี Backup SQL หรือ ฐานข้อมูลใน Wordpress ผ่าน PhpMyadmin

วิธี Backup SQL หรือ ฐานข้อมูลใน WordPress ผ่าน PhpMyadmin

วิธีการ Backup WordPress มีหลายวิธีการ อยู่ที่ผู้ใช้งานจะเลือกใช้ตามความสะดวกเหมาะสม การ Backup ผ่าน PhpMyadmin ก็เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ได้เช่นกัน

วิธี Backup SQL หรือ ฐานข้อมูลใน Wordpress ผ่าน PhpMyadmin

1. เมื่อเข้าผ่านมาในหน้า Direct Admin แล้วให้เข้าไปที่ PhpMyadmin

อยู่ในหมวดของ Advanced Features

2. log in เข้าสู่ระบบ PhpMyadmin

เลือกชื่อ Database ทางด้านซ้ายมือ 

3. เมื่อเข้ามาทำการติ๊กเครื่องหมายถูกลงในช่องเพื่อเลือกข้อมูลทำการ Backup

สามารถกด Check All เพื่อเลือกรายการทั้งหมดได้

4. หลังจากนั้นกด Export เมื่อเข้าหน้าขั้นตอนวิธีสุดท้าย ให้กด Go เพื่อ Download


5. Browser จะสั่งการให้ดาวน์โหลดอัตโนมัติ รอจนกว่าการดาวน์โหลด จะโหลดจนเสร็จสิ้น

หลังจากดาวน์โหลดเสร็จสิ้นแล้วแนะนำให้ทำการ Zip File เพื่อป้องกันข้อมูลเสียหาย


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting for wordpress สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วิธี Backup Code Wordpress ผ่านโปรแกรม FTP

ขั้นตอนการ Backup Code WordPress ผ่าน โปรแกรม FTP


วิธีการ Backup Code WordPress ผ่านโปรแกรม FTP
1. ทำการ Log in ใส่ Username Password ในโปรแกรม FTP จนครบ

โปรแกรมที่ใช้เป็น File Zilla FTP



2. ไปยัง Directory ที่ทำการเก็บไฟล์ WordPress

เพื่อสำรองข้อมูล Wordpress
โดยไฟล์ที่เก็บไว้ส่วนมากจะอยู่ที่ Public_html/wordpress


3. จากนั้นทำการลากจากฝั่งขวา มาเก็บไว้ที่เครื่องของเรา รอจนดาวน์โหลดไฟล์เสร็จ

ทำการลากปกติ คลิกค้างที่ด้านขวาบน Server ลากมาไว้ที่ เครื่องของเรา


4. ไปยัง Directory ไฟล์ที่เก็บไว้ในเครื่องเรา จากนั้นทำการ Zip ไฟล์ เพื่อป้องกันไฟล์เสียหายเกิดจากไวรัสโจมตี

การทำ Zip File เป็นการป้องกันการโจมตีของไวรัสที่ดีที่สุด



บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ระบบ Wordpress เหมาะสำหรับใคร และ การทำงานเป็นลักษณะอย่างไร

 

     WordPress เป็นเว็บไซค์แบบ CMS เป็นสามารถใช้งานได้ง่ายเหมาะสำหรับผู้เริ่มหัดใช้งาน และ สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของเอง สามารถทำการแก้ไข Content ได้ด้วยตัวเอง มีระบบจัดการที่สมบูรณ์ สามารถแก้ไขภาพลักษณ์ได้ และ ในตัวของ WordPress เอง มีการพัฒนา เพื่อการทำงานที่สมบูรณ์อยู่เรื่อย ๆ
     เจ้าของ หลายคนมีข้อมูลอยู่ในมืออยากจะให้คนอื่นได้เห็น แต่ไม่สามารถ จะอัพเดตข้อมูลเองได้ WordPress เป็น เว็บไซค์ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ เพราะมันไม่ยากอย่างที่คิด มี Plugin ที่มีคุณภาพใช้งานเยี่ยม แถมยังมีการให้คำแนะนำ consultancy สำหรับผู้ใช้ WordPress อีกด้วย
    ในสมัยนี้มีธุรกิจเพิ่มขึ้น มีการแข่งขันมากมาย ถ้าเรามัวแต่รอคนอื่นทำให้อาจจะพลาดโอกาส บางอย่างได้ Content จึงมีส่วนสำคัญ เว็บหรือธุรกิจใด มีการจัดการ Content ที่สมบูรณ์แบบเหนือกว่า ย่อม เกิดประโยชน์และได้เปรียบมากกว่า ธุรกิจนั้น ๆ แน่นอน สามารถทำได้ทั้งการอัพโหลด ดาวน์โหลด ซึ่งทั้งหมดนี้ WordPress สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นการทำ Online Market ที่สมบูรณ์แบบที่สุด

    ในช่วงยุคสมัยนี้ Online Market เป็นหัวใจหนึ่งที่มีความสำคัญในการขาย เพราะระบบ Online นั้น มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนส่วนมากเกิดความสนใจที่จะติดตาม แถมมีเป็นการโฆษณาที่มีความพร้อมเต็มรูปแบบ สามารถแก้ไขได้ แถมมีต้นทุนที่ต่ำ แต่กลับได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

มีระบบ seo ในตัวเอง ทำให้ง่ายต่อการค้นหาของ google

ประโยชน์หลักๆ สำคัญของ WordPress
1. ใช้งานง่ายหากมีการเปลี่ยนข้อมูลบ่อย ๆ WordPress สามารถตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างดี
2. มีระบบ SEO ในตัวเอง ซึ่งเป็นปัจจัยของ Online Market ทำให้ค้นหาจาก Google ได้ง่าย
3. มีการจัดการเนื้อหาที่สมบูรณ์แบบ ทำให้อ่านและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งทำให้เกิดการได้เปี่ยมของธุรกิจ
4. ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะ WordPress ได้ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความสามารถของ WordPress ทำโฆษณาได้เกือบได้ทุกรูปแบบ
5. ทันสมัย เว็บไซค์ชั้นนำส่วนมากเลือกใช้ระบบ WordPress ในการทำ Online Market อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่า google ให้การสนับสนุน WordPress จึงทำให้ง่ายต่อการใช้คำค้นหา


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

เหตุผลที่เราควรจะต้องมี Web Server เป็นของตัวเอง

หากเราไม่ได้สร้างเว็บไซต์เพื่อใช้งานเอง หรือทำไปทำมาเว็บไซต์มีคนเข้ามาดูมาใช้งานมากขึ้น หรือเว็บเรามีข้อมูล/ฐานข้อมูลมากขึ้น จนอาจกลายเป็นธุรกิจได้ ทำให้เราจำเป็นต้องหา Server ให้เป็นของตนเอง

ซึ่งเหตุผลที่เราควรจะต้องมี Server เป็นของตัวเอง มีดังนี้

1.ผู้ใช้ต้องการพื้นที่ ทั้งเว็บไซต์, อีเมล์ และฐานข้อมูล ที่ต้องการใช้งานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้น

2.ผู้ใช้ต้องการขยายการให้บริการปริมาณข้อมูลเข้าออกให้มากขึ้น เพื่อรองรับจำนวน User ที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ที่  
   มากขึ้น

3.ผู้ใช้ต้องการติดตั้งโปรแกรม หรือแอปพลิเคชั่นเฉพาะ เนื่องจากผู้ให้บริการ Shared Hosting ไม่ได้ติดตั้งมาให้  เช่น    แอปพลิเคชั่นเฉพาะที่ใช้กับเว็บของเราเท่านั้น หรือโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเอง

4.ผู้ใช้ต้องการเข้าใช้งาน หรือเข้าหน้าเว็บไซต์ที่มีความเสถียร เพราะหากเป็น Shared Hosting จะมีปัญหาว่าเว็บไซต์ 
   ของคนอื่น เกิดขัดข้องทำให้เครื่อง Server มีปัญหาในการใช้งาน เช่น Server ล่ม ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าหน้า 
   เว็บไซต์ทั้งหมดได้

 5.ผู้ใช้ต้องการเพิ่มความปลอดภัยของเว็บไซต์ และการทำงานอื่น เพราะเราสามารถควบคุมความปลอดภัยให้มากขึ้น
    หรือน้อยลงเองได้ ถ้าเป็น Server ของเราเอง เพื่อป้องกันการถูกโจมตี และควบคุมการใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะใน 
    ส่วนของอีเมล์ และฐานข้อมูลของ Server ที่ไม่จำเป็นอีกด้วย

6.ผู้ใช้ต้องการเพิ่มความเร็วในการเข้าเว็บไซต์ และการทำงานอื่น เพราะถ้ามี Server เป็นของตัวเองนั้น ภายใน Server    จะมีเพียงแค่เว็บไซต์ของเราเท่านั้น ทำให้เราไม่ต้องแย่งการใช้งาน Server กับเว็บไซต์ของคนอื่นๆ ใน Shared      

   Hosting เดียวกัน นอกจากนี้บางองค์กรมีความจำเป็นต้องการใช้งานอีเมล์ ซึ่งอีเมล์เป็นอะไรที่ต้องการความรวดเร็ว      และความแน่นอน ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งถ้ามี Server เป็นของตัวเอง จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในส่วนนี้
   ได้แน่นอน 

7.ผู้ใช้ต้องการความเป็นส่วนตัว หรือทำตามนโยบายของบริษัท ขององค์กร/ธุรกิจ นั้นๆ เป็นต้น


เมื่อได้ทราบเหตุผลของการมี Server เป็นของตนเองแล้ว ทีนี้ก็มาถึงเรื่องการเลือกใช้งาน Server สำหรับผู้ที่ต้องการมี Server เป็นของตัวเองกันต่อได้ ที่บทความ การเลือกใช้งาน Server สำหรับผู้ที่ต้องการมี Server เป็นของตนเอง


บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

บริษัทที่ให้บริการ "Web Server"  มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ของประเทศไทย


การเลือกใช้งาน Server สำหรับผู้ที่ต้องการมี Server เป็นของตนเอง

Colocation Server ต่างกับ Dedicated Server อย่างไร และ จะเลือกอันไหนดีกว่ากัน

เมื่อรู้ถึงเหตุผลที่ต้องมี Server เป็นของตัวเองแล้ว ต่อมาก็อยากจะแนะนำในการเลือกใช้งาน Server เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการใช้งาน Server ซึ่งส่วนใหญ่การใช้บริการเครื่องServer แบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ ดังนี้

1.บริการ Dedicated server 

ห้อง Data Center เพื่อวาง Colocation และ Dedicated Server
       เป็นลักษณะบริการเช่าใช้เครื่อง Server กับผู้ให้บริการต่างๆ เพียงแค่เราเลือก Package /รุ่นของ Server ที่ต้องการ แล้วจ่ายเงิน เสร็จแล้วผู้ให้บริการจะทำการติดตั้งให้เราใช้งาน ตามระยะเวลาที่กำหนด และอาจมีบริการอื่นให้เพิ่ม เช่น ติดตั้งเว็บไซต์ ,ย้ายไฟล์เว็บไซต์จากที่เดิมมาให้ ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า 
       ข้อดี ก็คือเราไม่ต้องจัดซื้อ และติดตั้ง Server เอง 
       ข้อเสีย ก็คือเราไม่มีสิทธิ์ในตัว Server เพราะเครื่อง Server เป็นของผู้ให้บริการ ที่นำมาให้บริการแก่ลูกค้าเท่านั้น

2.บริการ Co-Location 


การใช้งาน Colocation Server ผู้ให้บริการ Data Center 
จะมีสายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, และระบบไฟพร้อมใช้งาน


        เป็นลักษณะบริการให้เช่าพื้นที่ในการวาง หรือติดตั้งเครื่อง Server ที่ InternetData Center (IDC) เท่านั้น ซึ่งลูกค้า หรือผู้ใช้บริการจะต้องซื้อเครื่อง Server มาเอง  คือเราซื้อเครื่อง Server มาสมัครใช้บริการ Co-Location และนำเครื่อง Server ไปติดตั้งที่ IDC หากเราต้องการติดตั้ง หรือตั้งค่าเพิ่มเติม ก็ Remote desktop connection ไปที่ตัว Server เอง โดยที่ผู้ให้บริการ Co-Location จะไม่มายุ่งกับ Server ของเรา เนื่องจากผู้บริการแค่ให้บริการเช่าที่ในการวาง Server บนระบบอินเตอร์เน็ตเท่านั้น 
         ข้อดี ก็คือเราจะทำอะไรกับเครื่อง Server ก็ได้ เพราะเครื่อง Server เป็นของเราเอง และสามารถนำ Server ไปใช้ที่อื่นต่อได้ หากเลิกใช้บริการนี้ไป 
         ข้อเสีย ก็คือต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ Server เนื่องจากจะต้องทำเองทั้งหมด ทั้งติดตั้ง, บริหารจัดการ ,ดูแลเว็บไซต์ และแก้ไขปัญหาต่างๆของ Server อีกด้วย ซึ่งอาจต้องเสียเงินจ้างคนเพิ่ม เพื่อดูแลในส่วนตรงนี้


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Server สำหรับธุรกิจเท่านั้น

Internet Data Center คืออะไร

        
 Internet Data Center คือ บริการในการจัดเก็บรักษาข้อมูล และอุปกรณ์ ICT (เครื่อง Server, อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ) ให้กับธุรกิจและองค์กร เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น เนื่องจากในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจจะต้องมีการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลระหว่างกันตลอดเวลา เพราะมีการแข่งขันกันสูง
     
หรือ ห้องดาต้าเซ็นเตอร์
องค์ประกอบของ Internet Data Center (IDC) สำหรับวาง Colocation Server 1 U


    องค์กรธุรกิจต่างๆ จึงจำเป็นต้องเลือกใช้ IDC ที่มีมาตรฐาน มีระบบการรักษาข้อมูล และอุปกรณ์ ICT ที่มีประสิทธิภาพ เช่น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด จะต้องมีการส่งข้อมูลถึงกันได้ทันท่วงที เพื่อนำข้อมูลนั้นๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในธุรกิจของแต่องค์กร

พื้นที่ขนาด 1 U, สำหรับการวาง Server 1 เครื่อง

         ซึ่งผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะต้องมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญดูแลทุกวัน 24 ชั่วโมง(24X7) , บริการ Firewall, บริการ Backup ข้อมูลระบบสำรองไฟฟ้าระบบสนับสนุนอื่นๆ เช่น ระบบดับเพลิงที่ออกแบบพิเศษที่รองรับอุปกรณ์ ICT ต่างๆ ซึ่งต้องการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงาน นอกจากนี้ยังสามารถให้คุณเข้ามาตรวจสอบการทำงานของเครือข่ายและอุปกรณ์ของคุณได้ตลอดเวลาจากทุกที่ได้อีกด้วย



         ในประเทศไทยก็จะมี Data Center ใหญ่ๆหลายแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะอยู่ตามเมืองหลวง เช่น CAT ที่อาคาร กสท. โทรคมนาคม เขตบางรัก  ,บริษัททรู คอเปอเรชั่น เมืองทองธานี  บริษัท CS Loxinfo ที่อาคาร Cyber World และที่อื่นๆ อีกมากมาย


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

เว็บแบบ CMS คือ อะไร และทำให้คุณทำเว็บได้ง่ายขึ้นได้อย่างไร



CMS (Content Management System) เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาช่วยบริหารในการเขียนเว็บโดยมีการทำงานที่ง่ายมาก ผู้ที่ใช้งานแทบ ไม่ต้องมีความรู้ระบบเขียนโปรแกรมระดับสูง ถ้าหากใช้โปรแกรม Microsoft office ได้ ก็แทบจะไม่มีปัญหาการของงานของ CMS เลย โปรแกรมจะจัดการเกี่ยวกับ ข้อมูล การจัดระบบต่าง ๆ การขายของ ตระกร้าสินค้า เช็คจำนวนผู้เข้าชม ภาพโดยรวมหน้าตาของ CMS ถูกออกแบบมาอย่างมืออาชีพ


CMS มีให้เราเลือกใช้หลายรูปแบบ สามารถเลือกใช้ตามความถนัดความเหมาะสม CMS ที่ถูกพัฒนามาและฟรีมีให้ใช้มากมายเช่น WordPress , Joomla , Mambo , Drupal ทุกอย่างออกแบบมาอย่างมืออาชีพ สามารถใช้งานได้ดีเยี่ยม เป็นที่ยอมรับของ ผู้เขียนเว็บ และ ผู้ใช้งาน อย่างมาก

มีการติดตั้งง่ายเพียง Download CMS ที่ต้องการใช้แล้ว Upload ขึ้นไปบน Server เพียงแค่นี้ก็ทำให้เรามีเว็บไซค์ขึ้นภายในพริบตา ที่เหลือ ก็เพียงแต่แค่การจัดการระบบ ในส่วนต่าง ๆ มีการแยกเนื้อหา โชว์รายละเอียดอย่างชัดเจน การออกแบบ เป็น Blog ก็จะมีระบบเขียนบทความ พร้อมกับมีเครื่องมือช่วย ต่าง ๆ มากมาย คำสั่งเข้าใจง่าย สามารถ อัพโหลดไฟล์ เพื่อให้ ผู้เข้าชมเว็บไซต์ ดาวน์โหลดไฟล์ได้

แนะนำ CMS ที่มีผู้ใช้และความเหมาะสม
Joomla


เป็น CMS ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีการจัดการระบบเนื้อหาที่ดี หน้าตาทันสมัย มี Template ให้เลือก Download มากมาย สามารถใช้งานระบบ Flash , Gif Animation ได้อย่างดี ระบบขายของ เหมาะที่สุด
สำหรับการใช้งาน การเข้าถึงเนื้อหา ไม่ซับซ้อน ระบบเครื่องมือถูกออกแบบมาให้เข้าใจง่าย เหมาะ สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมมาก มีทั้งแบบฟรีและ ต้องชำระเงิน

WordPress


ตัวนี้เป็นออกแนวลักษณะ การสร้างบล็อค เป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้สร้างเว็บไซต์ มีการจัดระบบ SEO ในตัว จึงมีการค้นหายง่าย ในระบบ Google พร้อมทั้งมีการเก็บข้อมูลที่เป็นระบบมาก

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด


การเลือกซื้อ Web Hosting สำหรับผู้ที่ใช้งานเล็กๆ หรือ คนทำเว็บไซต์


หากผู้ใช้ทำเว็บไซต์ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้งานเว็บไซต์เอง ก็ขอแนะนำให้เลือกใช้ Web Hosting แบบ Shared Hosting 

         ซึ่ง Shared Hosting คือการใช้ Hosting ที่ผู้บริการแบ่งมาพื้นที่ใน Server มาให้เราใช้งาน โดยเว็บไซต์ของคนอื่นๆ ก็ใช้ Hosting ตัวเดียวกับเราเหมือนกัน (อยู่บน Server ตัวเดียวกัน) ซึ่งก็คือ ทุกคนจะต้องมีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

          ข้อดี คือประหยัด และลูกค้าไม่ต้องดูแล Web Server และระบบ Network เอง เพราะผู้ให้บริการจะทำหน้าที่ดูแลส่วนนี้ให้อยู่แล้ว 

          ข้อเสียคือ ไม่ค่อยมีความเสถียร และมีข้อจำกัดทางด้านการติดตั้งโปรแกรมบางตัวที่ผู้บริการไม่มีบริการติดตั้งให้
          ซึ่งข้อจำกัดดังกล่าว ทำให้ไม่เหมาะสมกับเว็บไซต์ที่มีข้อมูลบนเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่ , ต้องการความเสถียร, ความรวดเร็ว และความปลอดภัยที่มากขึ้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ผู้เขียนก็ขอแนะนำให้คุณมี Server เป็นของตัวเองไปเลย ซึ่งสามารถศึกษาเหตุผล และข้อดี-ข้อเสีย ของการมี Server เป็นของตนเองต่อได้ ที่บทความ เหตุผลที่เราควรมี Server เป็นของตนเอง

บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด


บริษัทที่ให้บริการ Web Hosting 


มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ของประเทศไทย

แนะนำเครื่องมือการใช้งาน Wordpress แบบง่ายๆ ใน Web Hosting

 
การใช้งาน WordPress เบื้องต้น

  ในหน้าควบคุมของ Wordpress มีเครื่องมือให้เลือกใช้มาก ควบคุมการทำงาน การเปลี่ยนแบบ Wordpress การเปลี่ยน Theme การเพิ่มหัวข้อเรื่อง การจัดหมวดหมู่หัวข้อ การใช้ Plug-in เข้ามาช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งาน วันนี้ผู้เขียนจะอธิบายความหมาย ของเครื่องมือที่ต้องใช้หลัก ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือที่ต้องใช้งานเป็นประจำ ลองมาดูกันว่า เครื่องมือแต่ละอย่าง มีหน้าที่ทำอะไรกันบ้าง

1. เรื่อง


1.เรื่อง ก็คือ เรื่องราวหรือหัวข้อแต่ละหัวข้อ ที่เราต้องการนำเสนอ เมื่อคลิกเข้าไป จะปรากฏหัวข้อเรื่องต่าง ๆ เรียงเป็นแถว ๆ สามารถคลิก เขียนเรื่องใหม่  แล้วใส่ เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ

2. ไฟล์สื่อ


2. ไฟล์สื่อ ไฟล์สื่อก็คือ รูปภาพ ไฟล์.pdf ต่าง ๆ ที่อัพโหลดมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเพื่อโชว์ขึ้นหน้าเว็บ จะเป็นการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ เช่น การลบไฟล์ทิ้ง การนำลิงค์ของไฟล์ไปใช้ หรือ การกำหนดขนาดไฟล์

3. ความเห็น


3. ความเห็น เป็นการกำหนดว่า ถ้าเกิดมีผู้เยี่ยมชมมา comment แสดงความคิดเห็น จะทำยังไง จะอนุญาต หรือ ปิดกั้นการแสดง ความเห็น หรือ รออนุมัติ ก่อนการแสดงข้อความเป็นต้นครับ

4. รูปแบบบล็อก


4. รูปแบบบล็อก การกำหนด ส่วนต่าง ๆ ใน Wordpress ว่าจะให้ส่วนนี้อยู่ตรงใหน จัดหมวดหมู่อย่างไร เช่นกำหนดตำแหน่งวันที่ ให้อยู่ด้านล่างสุด เป็นต้นครับ

5. ปลั๊กอิน


5. ปลั๊กอิน คือ ตัวช่วย ลูกเล่นต่าง ๆ ทำให้ Wordpress มีรูปลักทันสมัยยิ่งขึ้น ปลั๊กอิน มีหลายแบบเช่น ช่วยในการป้องกันไวรัส การล็อคอินเข้าใช้ การตั้งค่าปลั๊กอิน การเปิดใช้งาน การกำหนด การยกเลิกใช้การ อัพเดตปลั๊กอินต่าง ๆ

6. ผู้ใช้


6. ผู้ใช้ เป็นการกำหนด ผู้ใช้งาน จำนวนผู้ใช้ กำหนดค่าการจัดการของ User แต่ละคน เพิ่ม ลบ กำหนด Username Password

7. ตั้งค่า


7. ตั้งค่า กำหนดหัวข้อเว็บ Link ของเว็บไซต์หลัก หัวข้อเว็บ การกำหนด รูปแบบ วันที่ เวลา โซนเวลา กำหนด อีเมลล์ เพื่อสำหรับ แจ้งว่าผู้ใช้ใหม่

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting  สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วิธีเก็บไฟล์ที่ Backup เช่น SQL และ Code ให้ปลอดภัยจากไวรัส

   

     การ Backup File นั้น สำคัญแล้ว แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือ เราจะทำอย่างไรให้ไฟล์ปลอดภัย เก็บไว้ที่นี่แล้วไฟล์ไม่เสียหาย  มีหลายวิธีที่ผู้คนมากมายเลือกใช้ ภัยมืดทางการงานคอมพิวเตอร์ Internet ก็คือ ภัยจากไวรัส หากไฟล์ที่เราเก็บไว้ มีการถูกโจมตีจากไวรัส ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ ซึ่งก็ทำให้การ Backup file นั้นสูญเปล่า
     การป้องกันไวรัสโจมตีไฟล์อีกวิธีหนึ่งที่ใช้กันมาก ในผู้ที่ใช้งานเขียนโปรแกรม ผู้เขียนเว็บคือ การทำ Backup File เป็น Zip File ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า คำว่า Zip File นั้นหมายถึงอะไร การ Zip file ต้อง ทำผ่านโปรแกรม ที่นิยมใช้กันก็คือ WinRAR หรือ WinZip ซึ่งจะได้นามสกุล .ZIP  ประโยชน์หลักของมันก็คือ การ ทำให้ไฟล์มีขนาดเนื้อที่น้อยลง ประหยัดพื้นที่ในคอมพิวเตอร์ เมื่อบีบข้อมูลแล้ว สามารถแตกไฟล์อีกมา เป็นต้นฉบับเดิมได้อีกด้วย และยิ่งและที่สำคัญอย่างหนึ่ง ป้องกันการโจมตีจากไวรัส ได้อีกด้วย
เรามาดูวิธีทำ Zip File กันดีกว่าครับ วิธีทำไม่ยาก แต่มีประโยชน์หลายอย่างครับ(เป็นขั้นตอนการทำจากโปรแกรม WinZip)

1. เลือก File ที่เราต้อง Back Up ข้อมูลไว้ จากนั้นทำการคลิกขวา

สามารถทำได้ทีละหลาย ๆ ไฟล์


2. จากนั้นเลือกไปที่ Sent to จะมี แถบให้เลือก คลิกเลือกไปที่ Compressed (zipped) folder.

การเลือก Sent to เป็นวิธีการที่ง่าย และ เข้าใจง่ายที่สุด


3. จะได้ File ขึ้นมาเป็น .Zip สามารถทำการแก้ไข ชื่อ หรือ Copy ได้ปกติ

ไฟล์ทั้งหมดจะอยู่ข้างใน file.zip แต่ ไฟล์เดิมก็ยังอยู่ปกติ


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting  สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีติดตั้ง Wordpress Step By Step พร้อมรูปประกอบทุกขั้นตอน

วิธีติดตั้ง Wordpress ใน เว็บโฮสติ้ง ของตนเอง


WordPress คืออะไร เราจะมาอธิบายกัน คร่าว ๆ เกี่ยวกับ Wordpress

WordPress เป็น Open source ที่สามารถติดตั้งบนเว็บ Server ได้ เพื่อให้เราสร้าง blog เมื่อก่อน WordPress ถูกสร้างให้มาเพื่อแค่สร้าง blog แต่ปัจจุบันได้ถูกพัฒนา ให้ขึ้นมาเรื่อย ๆ จนสามารถเป็นเว็บไซต์ community โดยมีระบบจัดการที่เรียกกันว่า cms หรือ content management system ทำให้ง่ายต่อการจัดการปัจจุบันจึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งผู้ที่เริ่มทำ เว็บไซค์ใหม่ ๆ ก็หันมาใช้การสร้างเว็บด้วย WordPress

เราดูวิธีการติดตั้ง Wordpress ใน Direct Admin กันทีละ Step ดีกว่า

1. อันดับแรกเลยคือเราต้องมีไฟล์ WordPress ซะก่อน เราก็สามารถเข้าไป ดาวน์โหลดกันได้เลยครับที่เว็บของ WordPress http://th.wordpress.org

ไฟล์ที่ดาวน์โหลดจะเป็น.zip


2. จากนั้นอัพโหลดไฟล์ .zip เข้าไปใน directory ผ่าน Programe ftp หรือ ใน file manager control panel

เก็บไวใน folderชอง public_html


3. ให้ทำการแตกไฟล์ .zip คลิกไฟล์ ในช่องของ Action ให้เลือกที่ Extract จะมีไฟล์เพิ่มขึ้นมาชื่อ Folder Wordpress


เมื่อแตกไฟล์แล้วจะได้โฟลเดอร์ที่ชื่อว่า Wordpress


4. ทำการสร้าง Database ให้ File wordpress เข้าไปอยู่ ตั้งค่า User และ Database ให้เรียบร้อย ทำการจำค่าต่าง ๆ ที่กำหนดไว้เพื่อใช้ใน ข้อ 7

การสร้าง Database ผู้เขียนเคยได้เขียนบทความการสร้าง Database ไว้แล้ว


5.จากนั้นลองเข้าเว็บไซค์ของเราที่ทำทำการจดโดเมน และ ชื่อ Database ที่่ตั้งไว้ เช่น testworldpress.com/wordpress

www.yourdomain.com/wordpress

6. หน้าแรกจะปรากฏมีข้อความขึ้นให้อ่าน จริง ๆ แล้วไม่ต้องสนใจ ให้คลิกที่ สร้างไฟล์กำหนดค่า (Configuration file) เพื่อน Next ในหน้าถัดไป

หากเกิด eror ให้ดาวโหลด file wp-config-sample.php กำหนดค่า database แล้ว renane เป็น wp-config.php


7. ในหน้าถัดไป จะมีข้อความให้ท่านอ่าน ที่ต้องจำและต้องสนใจคือ 3 บรรทัด ที่มีการเน้นข้อความไว้
     - ชื่อฐานข้อมูล
     - ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล
     - รหัสผ่านฐานข้อมูล
สิ่งเหล่านี้ต้องจำมาตั้งแต่ขั้นตอน การสร้าง Database แล้ว จากนั้นคลิกที่ เริ่มทำงานได้


หากเกิด eror ลอง เปลี่ยน chmode เป็น 777


8. หน้านี้ให้ทำการกรอกข้อมูล Database ลงไป ชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล รหัสผ่านฐานข้อมูล เมื่อใส่ข้อมูลครบถ้วนถูกต้องแล้ว คลิกที่ ส่ง


ต้องใส่ให้ถูกต้องนำชื่อdatabase มาด้วย เช่น tony_databasename


9. หากไม่มีรัยผิดพลาด จะปรากฏข้อความดังรูป จากนั้นคลิกที่ ดำเนินการติดตั้ง


คลิกดำเนินการติดตั้งเพื่อทำขั้นตอนต่อไป


10. หน้านี้ไม่มีไรมาก ใส่ username กับ password เพื่อ login แก้ไขหน้าเว็บ จากนั้นคลิก ติดตั้งเวิร์ดเพรส 


ในหน้านี้ต้องจำ username password ไว้ด้วย ค่าในหน้านี้สามารถเข้าไปเปลี่ยนใน ห้อง ควบคุมได้


11. หน้านี้จะเป็นการโชว์ Username กับ Password ที่ทำการกำหนด จากนั้นคลิกที่ เข้าสู่ระบบ


จะโชว์เฉพาะ Usermane ส่วน Pasword โปรแกรมจะขึ้นมาว่า คุณได้เลือกรหัสผ่าน


12. จะเข้าสู่หน้า Page Log in ใส่ Username กับ Password ที่ทำการกำหนดในหัวข้อที่ 10


 Url จะเป็นไป domain ตามด้วย wordpress/wp-admin.com เช่น www.testwordpress/wordpress/wp-admin


13. เมื่อใส่ Username ที่กำหนดถูกต้องแล้ว จะเข้ามายังหน้า ควบคุม การจัดการระบบส่วนต่าง ๆ ของ Wordpress

สามารถอัพเกรด เวอร์ชั่น ของ Wordpress ได้ จะมีการแจ้งเตือนในหน้าควบคุม ไม่ต้องทำการอัพโหลดไฟล์ใหม่

14. ถ้าต้องการดูหน้าตา ของ Wordpress ให้เข้าที่ domain ตามด้วย wordpress เช่น www.testwordpress/wordpress

มีปลักอินให้เลือกใช้มากมาย แถมฟรี อีกด้วย สามารถดาวน์โหลดจากเว็บที่ให้บริการ


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Server สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีการเลือกใช้หรือซื้อ Hosting ให้เหมาะสม

หลายๆคน ที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง ไม่ว่าจะทำเล่นๆ หรือทำเป็นธุรกิจ จะต้องมองหา Web Hosting ที่เหมาะสมกับตนเอง โดยวันนี้ผู้เขียนจะขอแนะนำว่า เจ้าของเว็บจะต้องพิจารณาในหลายๆด้านดังนี้

1.   เว็บไซต์ของตนเองมีจุดประสงค์เพื่ออะไร : ใช้เอง หรือใช้ในทางธุรกิจให้บริการแก่สมาชิก หรือลูกค้า

2.   ขนาดของเว็บไซต์มีข้อมูล,ไฟล์เว็บไซต์, ฐานข้อมูล และอีเมล์ มากน้อยแค่ไหน โดยอาจมองไปถึงในอนาคตเลยก็ได้ เช่นอนาคต น่าจะมีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น, ในแต่ละวันมีคนเข้ามาดูสินค้าและบริการของเราเยอะ หรือมีการ Update ข้อมูลในเว็บเพิ่มขึ้นบ่อยๆ เป็นต้น

3.   จากข้อ 2 ก็มาคิดต่อว่า จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ หรือองค์กรของเราหรือไม่ เช่น เมื่อข้อมูลต่างๆบนเว็บเยอะขึ้น ทำให้เว็บเปิดช้า,โหลดนาน,อีเมล์เต็ม ดังนั้นก็จะต้องการพื้นที่การเก็บเว็บไซต์มากขึ้นตามไปด้วย และต้องการความเสถียรมากขึ้น(เว็บไม่ล่มบ่อย)

4.   เมื่อพื้นที่ไม่พอ ก็จะส่งผลให้ถูกเรียกเก็บค่าบริการที่ใช้เกิน หรือแนะนำให้ Up Package ที่สูงขึ้น(เพื่อให้ได้พื้นที่มากขึ้น)

จากเหตุผลคร่าวๆ ข้างต้น ก็พอที่จะใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่า เราควรเลือกใช้ Hosting แบบไหน
ซึ่งผู้เขียนจะขอแนะนำประเภท Hosting สำหรับการใช้งานเองก่อน ที่บทความ Web Hosting สำหรับผู้ที่ใช้งานเว็บไซต์เอง 

บทความโดย

ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด ในประเทศไทย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

วิธีดู Name Server หรือ NS ของเว็บไซต์หรือ Domain ต่างๆ

Name Server คืออะไร

NS หรือ Name Server ได้มาจาก Hosting ที่เราใช้บริการอยู่ รายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ website ที่อยู่ ทำหน้าที่เกี่ยวกับกำหนดค่าให้เราว่า เวลาเราเข้าเว็บไซต์ มันจะต้องวิ่งไปที่ใหน Server อยู่ตรงใหน จะเป็นช่องทางในการรับ Ip Address ของ browser ที่พิมพ์เข้ามา และ ทำการ แปล ip นั้น ๆ เป็นชื่อ โดเมนเนมของเรา

Name Server ที่หน้าที่หลักคือ แปลความหมายจาก IP address แต่ละ website เพื่อให้เข้าสู่ website นั้นๆ ได้ website แต่ละชื่อนั้นจะเข้า url ได้ ต้องเข้าผ่าน IP ซึ่งถ้าหากเราต้องเข้าใช้ผ่าน IP จะทำให้จดจำยากมาก จึงมีการสร้าง Domain name ขึ้นมา คนที่สร้าง website จะรู้จักกันดี ดังนั้นจึงมี Name Server ไว้ให้บริการแปลง IP เป็นชื่อโดเมนเนมของเรา

วิธีดู Name Server หรือ NS ของเว็บไซต์ 

ยกตัวอย่างเว็บไซต์ชื่อดัง sanook.com
วิธีที่ใช้ในการดู ns ของเว็บไซต์ โดยทั่วไปผู่ใช้ส่วนมาก ใช้ผ่านเว็บไซต์ whois.com
1. เข้าไปที่ www.whois.com
2. พิมพ์ Domain name ที่ต้องการสร้างเข้าไป




3. จะปรากฏชื่อเว็บไซค์ และ ที่มีผู้ใช้จดทะเบียนแล้ว แต่ต่างกันที่ .(ด็อท) เพราะลักษณ์การใช้งานวัตถุประสงค์ที่ต่างกันไป จากนั้นคลิกเข้าไปที่ Whois เพื่อดูรายละเอียด

4. เมื่อคลิกเข้ามาแล้ว ก็จะปรากฏรายละเอียดต่าง  ๆ เช่น เจ้าของโดเมนเป็นใคร ชื่อสกุล ที่อยู่ ผู้ให้บริการโดเมน รายการการจดทะเบียน ต่าง  ๆ




Whois.com  เป็นเว็บไซตืให้บริการตรวจสอบข้อมูลของโดเมนเจ้าของนั้น ว่าผู้ใดเป็นเจ้าของ ชื่อ สกุล ที่อยู่ อีเมลล์ เบอร์โทรศัพท์ และยังตรวจสอบได้อีกว่า หากเราต้องการจดโดเมน ชื่อที่เราจะใช้นั้นมีผู้ใช้อยู่แล้วรึเปล่า

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Server สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด