วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิธีใช้หัวข้อ Change Password หรือเปลี่ยน Password ใน DirectAdmin สำหรับ Web Hosting

การเปลี่ยนรหัสผ่าน หรือ password ในเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting)

รหัสผ่านคืออะไร

รหัสผ่านคือตัวอักษรหรืออักขระที่ผู้ใช้เป็นคนกำหนดเพื่อเข้าสู่ระบบเข้าถึงการใช้งาน แฟ้มข้อมูล ระบบต่าง ๆ การกำหนดรหัสผ่านนั้นมีความสำคัญมากเพราะถ้าหากมีการโจรกรรมข้อมูลหรือข้อมูลนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างผิดสังเกตุ สิ่งแรกที่ควรทำและแก้ไขคือ การเปลี่ยนรหัสผ่าน
Direct Admin มีหัวข้อ Change Password เพื่อให้ผู้งานกำหนดรหัสผ่านได้ การตั้งรหัสผ่าน ควรมีตัวพิมพ์เล็ก - พิมพ์ใหญ่ ตัวเลขปะปนกันไปเพราะ จำทำให้ยากต่อการคาดเดา เพื่อการป้องกันการโดนแฮกค์ของข้อมูล

มาดูวิธีเปลี่ยน Password ใน Direct Admin กัน

1.เมื่อเข้าสู่หน้า Direct Admin ให้ทำการเลือกที่หัวข้อ Change Password


เพื่อเปลี่ยนรหัสผ่านในเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting)
หน้าจอแสดงตัวอักษร Change Password ใน Direct Admin

2. เมื่อเข้ามาแล้วจะพบฟอร์มการกรอกข้อมูล ช่องแรกจะให้ใส่ Password เดิม ช่องที่ 2 ใส่ Password ใหม่ ช่องที่ 3 ยืนยันการใส่ Password ใหม่อีก ครั้ง จากนั้นกด Submit

หากบางรายการไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง Password ให้ทำการเอาติ๊กถูก 3 ช่องข้างล่างออก


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด



แก้ปัญหาหน้าเว็บไซต์ (Web site) ไม่ยอม Refresh หรือ Update Version 2 ที่หลายๆ คนยังไม่รู้


เพื่อทำให้เว็บไซต์โชว์ข้อมูลล่าสุดที่เราได้ Upload ไป
การล้าง ลบ clear หรือ clean cache ใน google chrome เพื่อให้โชว์ข้อมูลเว็บล่าสุด


เว็บไซต์ไม่ยอม Refresh หรือ โชว์ข้อมูลล่าสุด

สาเหตุอย่างหนึ่งที่ผู้ทำเว็บพบเจอ คือ เว็บไซต์ (Web Site) เมื่อ Upload ไฟล์ (File) ผ่าน FTP ไปยังเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ของเราแล้วไม่ยอมโชว์ข้อมูลหรือหน้าเว็บไซต์ล่าสุด คือ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) นั้นมีการเก็บข้อมูลเว็บไซต์ของคุณ ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตนเอง เรียกเป็นภาษาทางเทคนิคว่ามีการเก็บ Cache ไว้ในคอมตนเอง, โดยมีจุดประสงค์หลักคือ ต้องการให้คุณสามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ที่คุณเคยเข้านั้นโหลดเร็วมากขึ้น, เพราะเมื่อคุณเข้าเว็บไซต์ที่เคยเข้ามาแล้วแทนที่จะมีการไปเรียกข้อมูลจาก Web Server อีกครั้งซึ่งมันเสียเวลา, แต่มันกลับเรียกข้อมูลในเครื่องมาแสดงก่อนซึ่งมันเร็วกว่าแน่นอน

แล้ว cache ทำไมมันส่งผลไม่ทำให้เว็บไซต์ (Web site) โชว์ข้อมูลล่าสุด

ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว เนื่องจาก โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) นั้นจะเรียกข้อมูลจาก Cache หรือ ข้อมูลในเครื่องตนเองมาโชว์ก่อน เพราะคุณเคยเข้าเว็บเหล่านั้นมาก่อน, ก่อนที่มันจะไปเรียกจาก Web Server มันจึงส่งผลทำให้คุณเห็นแต่ข้อมูลเดิมๆ ทั้งๆ ที่เรามั่นใจว่าเรามีการ Upload File ด้วยโปรแกรม FTP ขึ้นไปบน Web Server แล้ว

cache จะทำให้เว็บของคุณโชว์แต่ข้อมูลเดิมๆ เรามีวิธีล้าง cache ใน google chrome ดังนี้

ไปยัง เมนู (ที่เป็นขีดสามขีด ที่อยู่ตำแหน่งขวามือด้านบน) > Settings


คลิกไปยัง History ดังภาพ


คลิกไปยัง Clear browsing data..

เพื่อให้เว็บไซต์โชว์ข้อมูลล่าสุด
Tick เครื่องหมายถูก หน้า Empty the cache > คลิก Clear browsing data

ที่เราได้ทำการ Upload ขึ้นไปแล้วใน Web Hosting
หลังจากนั้นให้ ปิด และ เปิด web browser อีกครั้ง หลังจากนั้น ให้ลอง Enter URL ที่เราได้ Upload File ขึ้นไป
ซึ่งข้อมูลในเว็บไซต์ควรจะเป็นข้อมูลล่าสุดแล้ว


อันดับ 1 ของประเทศไทย โดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

Web Hosting กับ Web Server คืออะไร ทำหน้าที่อะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร

ความหมายของ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) และ เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting)
คือ อะไรต่างกันอย่างไร

มือใหม่หัดทำเว็บใช่มั้ย ?

เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าคนที่อ่านบทความนี้อยู่น่าจะเป็น มือใหม่หัดทำเว็บ จึงต้องรีบเข้ามาหาข้อมูลว่า Web Hosting กับ Web Server มันต่างกันอย่างไง แล้ว จะเลือกซื้ออะไรดี, ในที่นี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมล้วนๆ ที่เอาไว้แยกแยะว่า Web Hosting กับ Web Server มันคืออะไร


ความหมายของเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) และ การทำงานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ 


Web Server (เว็บเซิร์ฟเวอร์) คือ อะไร และ ทำงานอะไร

Web Server หากพูดเป็นคำที่อธิบายง่ายๆเลย มันก็คือคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง แต่อุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ตัวนี้ มัน ทนทานกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป และ เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันตามบ้านเป็นแน่, รวมถึง มันยังต้องอยู่ในห้องแอร์เย็นๆ แล้วมีเครื่องสำรองไฟให้มันด้วย มันก็เลยถูกเรียกเป็น Server เท่มั่ยละ  คอมพิวเตอร์ตัวนี้มันมีหน้าที่ทำการประมวลผผล และ เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของแต่ละเว็บเอาไว้ เพื่อประมวลผลให้คนที่เข้ามาดูในเว็บมันก็เลยถูกเรียกเป็น Web Server นั่นเอง 

แต่ใน Server 1 เครื่องมันไม่ได้มีแค่เว็บเดียว เพราะ Server มันแพง, จึงมีบริษัทหลายๆที่ นำมาแบ่งขาย เช่น Server 1 เครื่องมี Harddisk 500 GB ก็เอามาหาร 500 ก็สามารถรองรับเว็บได้ถึง 500 เว็บไซต์ นั่นเอง 

ความหมายของเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือ อะไร
และมีหน้าที่ทำงานอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ (Web Site)

Web Hosting (เว็บโฮสติ้ง) คือ อะไร และมีหน้าที่ทำงานอย่างไร

Web Hosting หากแปลกันตรงๆ ดื้อๆ เลย มันก็แปลว่า ที่เก็บเว็บ ซึ่งผู้ที่ทำเว็บไซต์ต้องไปเช่ากับ ผู้ให้บริการ Web Hosting ซึ่งมันถูกแบ่งมากจากเครื่อง Web Server เป็น Package ไป เช่น Package 500 MB ก็แปลว่าคุณมืพื้นที่เว็บให้คุณ 500 MB เป็นต้น เพราะว่าถ้าคุณทำเว็บธรรมดาทั่วไป คุณคงไม่มีปัญญาไปเช่า Web Server ทั้งเครื่องแน่นอนเพราะไม่มีใครเค้าทำกัน นอกจากว่าเว็บของคุณเป็นเมกะโปรเจ็กจริงๆ

ความแตกต่างระหว่าง Web Hosting กับ  Web Server

หากคุณเป็นคนทำเว็บไซต์ทั่วไปไม่ได้เป็นเมกะโปรเจ็ก ระดับที่คนเข้าเว็บวันนึงเป็น แสน-ล้านละก็ คุณคงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ Web Server ให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุเป็นแน่, ดังนั้นหากเว็บของคุณเป็นเพียงเว็บบริษัท หรือ ระบบโปรแกรมภายใน คุณควรเลือกใช้ Web Hosting ที่ถูกแบ่งขายออกมาแล้ว

ในความเป็นจริง Web Hosting กับ Web Server มันก็มีความหมายเกือบจะคล้ายกันมาก, ขึ้นอยู่ว่าคุณจะใช้มุมมองแบบไหน ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการใช้งานมันอย่างไร 



ผู้ให้บริการ Web Hosting อันดับ 1
ของประเทศไทย โดย บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คีย์ลัดที่วิธี Refresh หน้าเว็บไซต์ (Web Site) ให้โชว์ข้อมูลล่าสุด เวอร์ชั่นง่ายๆ

ทำไมกด Refresh บนหน้าเว็บ แล้ว เว็บยังโชว์ข้อมูลเก่า และ ไม่ยอมโชว์ข้อมูลใหม่สักที


กดปุ่ม Refresh บน Browser แล้ว ทำไมข้อมูลมันยังไม่ Update

โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อผู้ทำเว็บไซต์ได้ Upload ข้อมูลขึ้นเว็บแล้ว สิ่งแรก ที่นักทำเว็บทั้งหลายจะทำ คือ ไปกดปุ่ม Refresh หน้าเว็บตัวเอง ว่ามันได้โชว์ข้อมูลล่าสุดแล้วจริงๆ หรือยัง ซึ่ง โดยส่วนใหญ่ มันก็ควรเปลี่ยนและโชว์ข้อมูลล่าสุด

แต่เมื่อมันไม่ยอมโชว์หน้าเว็บ ที่เป็นข้อมูลล่าสุด จะทำอย่างไร

การกด Ctrl + Shift และ คลิกไปที่ ปุ่ม Refresh จะทำให้โชว์ข้อมูลล่าสุด

  • ให้คุณกดปุ่มที่ Keyboard : Ctrl + Shift ค้างไว้ และ เอาเม้าไปกดที่ปุ่ม Refresh ใน Browser นั้นๆ
    หลังจากนั้น ข้อมูลในหน้าเว็บควรจะเปลี่ยนเป็นข้อมูลล่าสุด

สาเหตุที่ Browser ยังโชว์ข้อมูลเดิม

  • หากคุณมีความรู้ในเชิงลึกหรือข้อมูลด้านเทคนิคในการเขียนโปรแกรม คุณจะทราบดีว่า Browser ที่คุณใช้อยู่นั้น เวลามีการเข้าเว็บอะไร มันจะทำการเก็บข้อมูล เช่น รูปภาพ และ ข้อความ ในเว็บเหล่านั้น ลงในคอมพิวเตอร์คุณโดยอัตโนมัติ (ในภาษาเทคนิคเรียกว่า Catch)  เพื่อ ในครั้งต่อไป ที่คุณเข้าเว็บนี้อีกครั้งแทนที่ Browser จะไป Download ข้อมูลจาก Web Server มาแสดงให้คุณเห็น ซึ่งมันช้ากว่ากันดึงข้อมูลมาจาก Harddisk แน่นอน ซึ่งก็จะส่งผลทำให้คุณสามารถดูเว็บต่างๆ ที่เคยดูมาแล้วนั้น Download แทบไม่ต้องรออะไรเลย
  • แต่การเก็บ Catch ในลักษณะนี้ มักจะมีปัญหากับผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่ไม่รู้สิ่งเหล่านี้จริงๆ เวลาเราทำการ Upload File ขึ้นไปที่ Server  แล้ว กดแค่ปุ่ม Refresh อย่างเดียว มันก็ยังโชว์ข้อมูลเก่าๆ, ซึ่งปุ่ม Refresh ของ Browser แต่ละค่ายก็มีการทำงานที่ต่างกัน 
  • แต่การใช้คีย์ลัดตามที่กล่าวข้างต้นมันเป็นคำสั่งที่เราบอกกับ Bowser ว่าให้เอาข้อมูลล่าสุดจาก Server มาโชว์ให้ฉันดูเดี๋ยวนี้

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting อันดับ 1 ในประเทศไทย

จะเกิดอะไร ถ้ามี ไฟล์ (File) index หลายไฟล์ และ ทำให้เกิดปัญหาเว็บหน้าแรกโชว์ข้อมูลไม่ตรง


ปัญหา ไฟล์ (File) ใน Web Hosting นั้นไม่ยอมโชว์ไฟล์ล่าสุด

ทำไม Upload, File index ขึ้นไปแล้ว แต่ ยังโชว์ข้อมูลเดิมๆ

ปัญหาคลาสสิคเหมือน เหมือนเส้นผมบังภูเขาสำหรับคนทำเว็บ คือ ทำไมฉัน Upload File: index.php ขึ้นไปแล้ว แต่หน้าแรก มันไม่เห็นเปลี่ยนมาโชว์ข้อมูลใน File: index.php เลย 


และทำให้เว็บไม่ยอมโชว์ข้อมูลล่าสุด
เนื่องจากใน Web Server มี File : index มากกว่า 1 File เช่น มี index.html และ index.php เป็นต้น

คำตอบง่ายๆ เลย คือ มันมีไฟล์ index อยู่มากกว่า 1 File

โดยปกติหลังจากที่ บริษัทผู้ให้บริการ Hosting ทำการติดตั้ง Web Hosting ให้คุณ Server มันจะทำการสร้าง File : index.html ให้อัตโนมัติซึ่งเมื่อ Enter เข้าไปจากหน้าเว็บ มันก็จะโชว์เป็นหน้า Default หรือ Logo ของระบบปฎิบัติการของ Server นั้นๆ

ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่องมีไฟล์ index มากกว่า 1 File

  • เวลาคุณเข้าหน้าเว็บ เช่น www.abc.com, Server ส่วนใหญ่ จะให้ลำดับความสำคัญกับ index.html เป็นอันดับแรก  แต่ถ้าคุณไป Upload File: index.php ขึ้นไป, หน้าเว็บ www.abc.com ก็ยังโชว์ข้อมูลใน index.html อยู่เหมือนเดิม

การแก้ไขปัญหา

ทำให้เกิดปัญหา เว็บไซต์ (Web Site) ไม่ยอมโชว์ข้อมูลล่าสุด
หากมีไฟล์ index.html และ index.php อยู่พร้อมกัน เมื่อมีคนเข้าเว็บ Web Hosting ส่วนใหญ่
มักจะยึดไฟล์ index.html เป็นไฟล์แรก

  • การแก้ปัญหาง่ายๆ ดื้อๆ เลย คือ ลบไฟล์ index.html ที่อยู่ใน Folder : Public_html ออกไป หลังจากนั้นให้คุณลองเข้าหน้าเว็บ และ กด Refresh ข้อมูลที่โชว์ มันควรจะเป็น File: index.php
  • หากไฟล์ index.html นั้นเป็นไฟล์ที่มีความสำคัญคุณก็เพียง Copy ไฟล์นั้นลงเครื่องก่อน แล้ว ค่อยลบไฟล์นั้นจาก Web Hosting ไป

    ทำให้ไม่เว็บไม่ยอมโชว์ข้อมูลล่าสุด
    ไฟล์ : default.html มักจะเป็นหน้าแรก ของเว็บไซต์ และ
    เป็นความสำคัญระดับแรก ที่ Web Hosting เลือกโชว์

  • หากคุณลบไฟล์ index.html ออกไปแล้ว หน้าเว็บยังไม่โชว์ข้อมูลเป็นข้อมูลเดิมอยู่ ลองมองหาไฟล์อื่นๆ เช่น default.html เป็นต้น แล้วลองลบออกไป หลังจากนั้น index.php ของคุณก็ควรจะแสดงขึ้นมาแล้ว

บทความโดย
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด ในประเทศไทย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วิธีการ Login ผ่านหน้าเว็บ เข้าสู่ Hosting : Direct Admin สำหรับ Web Hosting

Hosting : Direct Admin คืออะไร

Direct Admin เป็นระบบ Control Panel สำหรับจัดการเว็บโฮสติ้งที่นิยมที่สุดและใช้งานง่าย มีการจัดการเครื่องมือฟังก์ชั่นการทำงานที่ครบถ้วน สำหรับในเรื่องของเว็บโฮสติ้ง ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง โดนเมน การอัพโหลดไฟล์ต่าง การเพิ่มเช็ค Account เพื่อจัดการข้อมูล (Database) รวมถึงการสำรองข้อมูล 


และวิธี Login โดยใช้ Username และ Password
DirectAdmin Web Control Panel


วิธีการ Login ผ่านหน้าเว็บ เข้าสู่ Hosting : Direct Admin


การเข้าใช้งานระบบ Direct Admin สามารถเข้าใช้ผ่าน Browser เช่น Internet Explorer หรือ Browser อื่น โดยกำหนดชื่อ URL มาที่  HTTP://27.254.62.228:2222
Browser จะทำหน้าที่พาผู้ใช้งานไปยังหน้าเพจ Direct Admin ของระบบผู้ให้บริการด้าน Hosting 

ซึ่งเป็นหน้าควบคุมของ Web Hosting
หน้าเพจ DirectAdmin สำหรับการบริหารจัดการ Web Hosting

รหัสผ่าน Usernam :  Password :

รหัสผ่านที่จะเช้าใช้ระบบ Direct Admin ผู้ให้บริการเจ้าของ Hosting จะเป็นผู้ให้มา หรือ หากผู้ใช้งานต้องการเปลี่ยนสามารถเข้าไปกดหนดได้ใน Direct Admin แต่ควรเข้าใช้อย่างระมัดระวังเพื่อป้องการการผิดพลาดและอาจจะไม่สามรารถเข้าถึงหน้า Direct Admin ได้อีก

หน้าควบคุม หรือ Direct Admin ใน Web Hosting
ผู้ให้บริการจะส่ง Username : Password : เช้าในe-mail ของผู้ใช้งาน


ในการเข้าใช้งาน Direct Admin สามารถเข้าใช้ได้ 2 ทางคือ
  1. http://yourdomain:2222
  2. http://ip address ของโฮส:2222

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

วิธีใช้งานหัวข้อ Login History หรือ ประวัติการเข้าระบบ Direct Admin ใน Web Hosting

วิธีใช้งานหัวข้อ Login History หรือ ประวัติการเข้าระบบ Direct Admin

Login History in Web Hosting

Login History ทำหน้าที่ บอกรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าใช้งาน จะมีข้อมูลบอกเช่น วันที่เข้าใช้ ,
IPที่เข้าใช้งาน , จำนวนครั้งที่เข้าใช้ จุดประสงค์หลักเพื่อสำหรับ Admin ได้ทราบว่ามีวันใหนบ้าง เครื่องใหน เข้าใช้ และกี่ครั้งที่เข้าระบบ

วิธีการเข้าใช้งานหัวข้อ Login History

1.  เมื่อเข้าสู่หน้า Direct Admin ให้ทำการเลือกที่หัวข้อ Login History 

จะอยู่ในหมวด Your Accoount



2.  เมื่อเข้ามาแล้ว จะมี 3 คอลัมน์ บอกรายละเอียด คือ วันที่ที่เข้าใช้งาน , IP ที่เข้าใช้งาน , จำนวนครั้ง

ใน Web Hosting
จะจัดอันดับการใช้งานล่าสุดอยู่ด้านบนและแสดงวันเวลาที่เข้า รวมถึง IP ด้วย


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด

ภาพรวมและความหมายของ Link ต่างๆ ในหน้าแรก Web Hosting : Direct Admin

ภาพรวมและความหมายของ Link ต่างๆ ในหน้าแรก Web Hosting : Direct Admin

เมื่อ LOGIN เข้ามาแล้วจะพบเครื่องมือต่าง ๆ ที่อยู่ภายในหน้า Direct Admin แต่ละหัวข้อหลักจะแยกการใช้งานไว้ต่าง ๆ เช่น การกำหนด จัดการเกี่ยวกับ Database  การสร้าง ลบ ฐานข้อมูล การสำรองข้อมูล Backup Restore  เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ พาสเวิร์ด เรามาดูกันดีกว่าว่าหัวข้อหลัก และ หัวข้อย่อยใน Direct Admin ที่มีการใช้งานบ่อยมากที่สุดมีอะไรบ้าง

หน้าแรกของ DirectAdmin


1. Domain Setup ใช้ในการแก้ไขเกี่ยวกับชื่อโดเมนเท่านั้น และชื่อที่ทำการเปลี่ยนจะต้องทำการจดโดเมนเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อป้องกันการ ผิดพลาดของข้อมูล จะทำให้เว็บที่ใช้งานอยู่ไม่สามารถใช้งานได้

การกำหนดชื่อโดเมน ควรทำการเช็คก่อนว่ามีการใช้โดเมนนั้นแล้วหรือยัง


2. Change Password สำหรับผู้ใช้งานหากต้องการเปลี่ยนแปลง Password การเข้าใช้ ควรทำการอย่างระมัดระวังหากมีการผิดพลาดการ ftp ของข้อมูลอาจจะไม่สามารถใช้งานได้

Control Panel ใน Direct Admin
การกำหนด Password ควรมีตัวพิมพ์เล็ก-ใหญ่ ทำให้คาดเดายากหากมีผู้ไม่หวังดีเข้ามาโจรกรรมข้อมูล



3. Site Summary / Statics / Logs สำหรับดูภาพรวมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ สถิติการเข้าเว็บไซต์ แสดงข้อมูลเกี่ยวกับโอส เช่น ปริมาณกับรับส่งข้อมูล พื้นที่ จำนวนSub domains จำนวนEmail Account เป็นต้น

บันทึกข้อมูลทางสถิติต่างๆ 


4. FTP Management เป็นเมนูที่ใช้จัดการกับ Account ที่ใช้งาน FTP ไฟลต์ต่าง ๆ เข้ามายังพื้นที่บน Host (Web Server)

โปรแกรมที่ใช้ในการ FTP ข้อมูลมีมากมายผู้ใช้ควรไตร่ตรองการใช้อย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันการเสียหายของข้อมูล

5. Subdomain Management ใช้สำหรับแบ่งชื่อเว็บไซต์ออกมา ก็คือ เราต้องการให้ลิงค์นี้เป็นอีกเว็บหนึ่ง แต่ก็จะมีชื่อยู่ภายใต้ของเว็บเดิม เช่น www.testweb.domainame.com

การกำหนดควรตรวจสอบดูว่า url ไม่ซ้ำกัน



6. MySQL Management ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับ Database เมนูหลักๆที่ใช้งานได้แก่ การสร้าง Database ใหม่ กำหนด Php Myadmin ที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูล ตลอดจนเพิ่ม-ลด Upload Backupข้อมูลต่าง ๆ


โปรแกรม Php Myadmin สามารถดาวน์โหลดได้ทางเว็บ http://www.phpmyadmin.net โดยตรง



7. File Manager  โปรแกรมที่ช่วยในการจัดการไฟล์  โดยจะใช้แทนคำสั่งดอสมาจัดในรูปแบบเมนู  ซึ่งสะดวกในการทำงานมากขึ้น  เราสามารถคัดลอกแฟ้มข้อมูลเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล  ลบแฟ้มข้อมูล  หรือเรียก ใช้งานโปรแกรมต่างๆ

การลบข้อมูลควรระมัดระวังเพราะ มีการทำงานที่ซับซ้อนผู้ใช้ควรศึกษาตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียด


8. E-mail Account  มีเมนูที่ใช้จัดการเกี่ยวกับ E-mail  ตั้งแต่การจัดการ E-mail Account, การตั้งค่าสำหรับ E-mail , การส่งต่อ, การตอบรับอัตโนมัติ, การตั้งข้อความแจ้งวันหยุด, การจัดการรายชื่อผู้รับ, การกรอง E-mail ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น

ในช่องรายการจะมีอีเมลอยู่แล้ว 1 account โดยเป็นชื่อ user@ชื่อโดเมน



9. Webmail : Squirrelmail  ใช้เปิดเว็บเมล สำหรับเข้าเช็คอีเมลผ่านเว็บไซต์ซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นโดเมนของคุณตามด้วย/webmail เช่น http://www.technologyland.co.th/webmail

ในหน้า Web Hosting
หากใช้บริการของ Google Apps หรือ Window Live Domain Center จะไม่สามารถใช้ Squirrelmail ได้


บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด



วิธีเพิ่ม ลบ Account FTP ใน Direct Admin สำหรับผู้ใช้งาน Web Hosting

วิธีเพิ่ม ลบ Account FTP ใน Direct Admin

การบริหารจัดการ Account FTP สำหรับเว็บโฮสติ้ง


FTP  คือการดาวน์โหลด ย้ายจัดการเกี่ยวกับข้อมูลในระบบอินเตอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน  และสามารถนำไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของท่านไปไว้ในพื้นที่เก็บข้อมูล สามารถทำได้โดยผ่านโปรแกรม FTP ตัวโปรแกรมมีให้เลือกหลายประเภทแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการใช้แบบใด FTP จะเป็นช่องทางการนำข้อมูลไปยัง Host เพื่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ของเว็บไซต์ FTP ย่อมากจาก File Transfer Protocol ก็คือการดึงไฟล์จากอินเตอร์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราโดยปกติการดึงไฟล์จากอินเตอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังผู้ให้บริการ Hosting

วิธีเพิ่ม Account FTP ใน Direct Admin

1. เมื่อเข้าสู่หน้า Direct Admin เรียบร้อยแล้ว เลือกไปที่หัวข้อ FTP Management

หัวข้อ FTP Management อยู่ในหมวดของ Your Account 


2. ต้องการเพิ่ม Account เลือกไปที่ Create FTP account

จะมี Account อยู่ 1 Account อยู่แล้วสำหรับ Admin 


3. กรอกข้อมูลในช่องเพื่อกำหนด Username และ Password  ยืนยันการกำหนด Password อีกครั้ง

และการตั้ง Password
เมื่อทำการกำหนดเรียบร้อยแล้วกด Create

4. เมื่อทำการ Add Account เรียบร้อยแล้วจะมีรายชื่อ User เพิ่มขึ้นจากของเดิม

จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ Account ที่ทำการ Add ไว้

ในการใช้งานผู้ใช้สามารถใส่ข้อมูลการเข้าใช้ได้ดังต่อไปนี้
Host : ftp.your-domain.com
Username : ชื่อที่ตั้ง@your-domain.com
Password : ตามที่ได้ตั้งค่าไว้
Port : 21



วิธีลบ Account FTP ใน Direct Admin

1. เมื่อเข้าสู่หน้า Direct Admin เรียบร้อยแล้ว เลือกไปที่หัวข้อ FTP Management


ในหมวดของ Your Account


2.ทำการเลือก Account ที่ต้องการลบ โดยติกถูกในช่องของ Select 

Account ของ Admin จะไม่สามารถลบได้


3. คลิก Delete Selected เพียงเท่านี้ Account ที่ถูกเลือกก็จะถูกลบไป

ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนลบหากเกิดข้อผิดพลาดจะไม่สามารถกู้กลับมาได้

บทความโดย
บริษัท เทคโนโลยีแลนด์ จำกัด
ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ดีที่สุด สำหรับธุรกิจเท่านั้น

คำชี้แจงทางกฏหมาย Legal Notices
โลโก้หรือสัญลักษณ์ทางการค้าของ TL รวมถึงเนื้อหา ที่อยู่ภายใต้เว็บ TL นั้นถึงเป็นสมบัติและทรัพย์สินของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ ไม่อนุญาติให้นำข้อความ หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้งานโดยมิได้อนุญาติอย่างเป็นทางการ, การละเมิดจะถูกดำเนินคดีจาก TL จนถึงที่สุด